Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4125
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กู้เกียรติ อัตตะวิริยะสุข | - |
dc.date.accessioned | 2023-06-23T03:12:56Z | - |
dc.date.available | 2023-06-23T03:12:56Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4125 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เปรียบเทียบวิธีวิเคราะห์หาความชื้นในวัตถุดิบอาหารสัตว์โดยการวิเคราะห์แบบใช้ตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 135 องศาเซลเซียส ที่เป็นวิธีมาตรฐานของ National Forage Testing Association (NFTA, 1993) ใช้เป็นวิธีทดลองควบคุม เปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ความชื้นที่อุณหภูมิ 100 และ 135 องศาเซสเซียส ในตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์จำนวนทั้งหมด 10 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างละ 3 วิธีทดลอง วิธีทดลองละ 4 ซ้ำ โดยแต่ละซ้ำได้จากค่าเฉลี่ยของการวัดความชื้น 4 ครั้ง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยเป็นตัวอย่าง กากถั่วเหลือง กระถิน เยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ กากปาล์ม เห็ดหอม ปลายข้าว รำข้าว เมล็ดข้าวฟ่าง เมล็ดข้าวโพด และหญ้าอิสราเอล ผลการทดลองสรุปได้ว่า การวิเคราะห์ความชื้นทุกตัวอย่างโดยวิธีการวิเคราะห์ทั้ง 3 วิธี นั้น เยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ วิเคราะห์ด้วยตู้อบลมร้อน และเครื่องวัดความชื้นที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ให้ผลที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ส่วนการวิเคราะห์ด้วยเครื่องวัดความชื้นที่อุณหภูมิ 135 องศาเซลเซียสให้ผลมากกว่าความเป็นจริง ส่วนกากปาล์ม เห็ดหอม ปลายข้าวและเมล็ดข้าวฟ่าง การวิเคราะห์ด้วยตู้อบลมร้อนและเครื่องวัดความชื้นที่อุณหภูมิ 135 องศาเซลเซียส ให้ผลที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ส่วนการวิเคราะห์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ความชื้นที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ให้ผลน้อยกว่าความเป็นจริง ตัวอย่างกากถั่วเหลืองวิเคราะห์ด้วยวิธีการทั้ง 3 วิธีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยวิธีวิเคราะห์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ความชื้นที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ให้ผลน้อยกว่าความเป็นจริง ส่วนการวิเคราะห์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ความชื้นที่อุณหภูมิ 135 องศาเซลเซียส ให้ผลการวิเคราะห์ที่มากกว่าความเป็นจริง สำหรับตัวอย่างกระถิน รำละเอียด เมล็ดข้าวโพด และหญ้าอิสราเอล ผลการวิเคราะห์ทั้ง 3 วิธีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ผลการวิเคราะห์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ความชื้นทั้ง 2 วิธีมีค่าน้อยกว่าความเป็นจริง ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสมีค่าน้อยที่สุด และตามมาด้วยเครื่องวิเคราะห์ความชื้นที่อุณหภูมิ 135 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงสรุปเป็นภาพรวมได้ว่าหากต้องการวิเคราะห์ตัวอย่างเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟโดยวิธีที่รวดเร็วและให้ผลการทดลองที่เชื่อถือได้สามารถใช้เครื่องวิเคราะห์ความชื้นที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสแทนการวิเคราะห์ด้วยตู้อบลมร้อนได้ ส่วนการวิเคราะห์กากปาล์ม เห็ดหอม ปลายข้าว และเมล็ดข้าวฟ่างสามารถใช้เครื่องวิเคราะห์ความชื้นที่อุณหภูมิ 135 องศาเซลเซียส ทดแทนการวิเคราะห์ด้วยตู้อบลมร้อนได้ | en |
dc.description.abstract | The objective of this study was to compare the method for determining moisture content of feed stuffs by using a hot air oven at 135 °C, the standard method of National Forage Testing Association (NFTA) , 1993 was used as a controlled experiment. It was compared with moisture analyzers at 100 and 135 °C, totally 10 samples. Samples were analyzed in 3 experimental methods, with 4 replicates of each experiment, each replicate obtained from the mean of 4 moisture measurements by using a Completely Randomize Design planned. The samples were used soybean meal, acacia, coffee silver skin, palm meal, shiitake mushroom, broken-milled rice, rice bran, sorghum grain, corn kernels and Israeli grass. The results of the experiment were concluded that when the moisture content of all samples were analyzed by all three methods, the coffee silverskin analyzed with hot air oven and the moisture analyzer at 100°C was found not significant difference (p<0.01), while the analysis with a moisture analyzer at 135°C was more effective than it realistic results. Such as palm meal, shiitake mushroom, broken-milled rice and sorghum grain the analysis with a hot air oven and a moisture analyzer at 135 °C were found not significant difference (p<0.01). The analysis with a moisture analyzer at 100 ° C was less effective than realistic result. Soybean meal samples analyze by 3 method were significantly difference (p<0.01). By analyzing with a moisture analyzer at 100 °C, the result was less than normal. The analysis with a moisture analyzer at 135°C was more than realistic results. For the samples of acacia, rice bran, corn kernels, and Israeli grass. The results of the three analyzes were significantly different (p<0.01). The results of the analysis with both methods of moisture analyzer were less than the actual result. The moisture at 100 °C were the lowest and followed by a moisture analyzer at 135 °C. Therefore, it can be concluded that a rapidly and accurate method of analyze the coffee silver skin sample. Can be done with the moisture analyzer at 100°C instead of the hot air oven analysis. For the analysis of palm meal, shiitake mushroom, broken-milled rice and sorghum grain, it can be analyzed by using a moisture analyzer at 135 °C instead of the hot air oven analysis. | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีการเกษตร. | en |
dc.subject | ตู้อบลมร้อน | en |
dc.subject | วัตถุดิบอาหารสัตว์ | en |
dc.subject | เครื่องวิเคราะห์ความชื้น | en |
dc.title | การเปรียบเทียบวิธีวิเคราะห์ความชื้นในวัตถุดิบอาหารสัตว์โดยวิธีใช้ตู้อบลมร้อนและเครื่องวิเคราะห์ความชื้น | en |
dc.title.alternative | Comparison of Moisture Analysis Method in Feed stuffs between Hot Air Oven Method and Moisture Analyzer Method | en |
dc.type | Research | en |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - AGR) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
20230623-Research-KuKiat A.pdf | Comparison of Moisture Analysis Method in Feed stuffs between Hot Air Oven Method and Moisture Analyzer Method | 2.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.