Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4154
Title: คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดปทุมธานีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี
Other Titles: Desirable Characteristics of School Administrators in Secondary Schools in Pathum Thani Province under Pathum Thani Secondary Education Service Area Office
Authors: ภัคปภา บัญญัติ
Keywords: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
ผู้บริหารสถานศึกษา
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 335 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ได้แก่ (1) ด้านความรู้ความสามารถ ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรรายวิชา ศึกษาเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมั่นเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ (2) ด้านความเป็นผู้นำ สร้างแรงจูงใจในการทำงาน สนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชา สร้างมนุษยสัมพันธ์ ความไว้วางใจ เชื่อใจผู้ใต้บังคับบัญชา คอยรับฟังปัญหาและช่วยเหลือแบบกัลยาณมิตร (3) ด้านคุณธรรม จริยธรรม ยืดระเบียบแบบแผนการปฏิบัติของแต่ละงานเพื่อให้ความยุติธรรมและเป็นกลางในการปฏิบัติงาน รับฟังความคิดเห็นและบริหารงานโดยให้ทุกคนมีความเสมอภาคเท่ากัน (4) ด้านบุคลิกภาพ ไม่ควรใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา อธิบายด้วยเหตุและผล รู้จักให้อภัยผู้ใต้บังคับบัญชา (5) ด้านการมีวิสัยทัศน์ เข้ารับการอบรม ประชุม สัมมนา การใช้เทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ และนามาบูรณาการในการทางานให้เกิดประสิทธิภาพ (6) ด้านมนุษยสัมพันธ์ สร้างความจริงใจ ความเอาใจใส่ ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความช่วยเหลือเหมือนญาติพี่น้องในครอบครัว และ (7) ด้านความรับผิดชอบ สอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
This research aimed to: 1 ) investigate the desirable characteristics of administrators in secondary schools in Pathum Thani province under Pathum Thani Secondary Education Service Area Office, and 2) propose the guidelines for developing desirable characteristics of administrators in secondary schools in Pathum Thani province under Pathum Thani Secondary Education Service Area Office. The research sample consisted of 335 teachers under Pathum Thani Secondary Education Service Area Office in the academic year 2020, selected using stratified sampling method. The key informants included seven school administrators under Pathum Thani Secondary Education Service Area Office. The instruments included a questionnaire and an interview form. The collected data were analyzed by using frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The research result revealed that: 1) the overall desirable characteristics of administrators in secondary schools in Pathum Thani province under Pathum Thani Secondary Education Service Area Office was at a high level, and 2) the guidelines for developing desirable characteristics of administrators in secondary schools, Pathum Thani province under Pathum Thani Secondary Education Service Area Office included seven areas. (1) The knowledge and competence area referred to studying the structure of educational institutions, courses, and criteria for evaluating academic achievement, as well as constant learning and self-development. (2) The leadership area referred to creating a motivating workplace, supporting subordinates, building human relationships with reliance on the subordinates, listening to problems, and assisting like a true friend. (3) The morality area referred to following the rules and regulations of each job in order to work fairly and impartially, listening to other’s opinions, and managing with equity. (4) The personality area referred to being judicious, listening to subordinates’ opinions, giving explanation with reasons and effects, and condoning subordinates. 5) The vision area referred to attending trainings, meetings, and seminars, as well as using various forms of technology to integrate knowledge into their work with efficiency. (6) The human relationship area referred to being sincere, taking care of subordinates, and providing assistances like family members. (7) The accountability area referred to inquiring subordinates in order to find a solution to a problem.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4154
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-175341.pdfDesirable Characteristics of School Administrators in Secondary Schools in Pathum Thani Province under Pathum Thani Secondary Education Service Area Office5.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.