Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4203
Title: การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากลูกยอและแมลง
Other Titles: Biological activities of morinda citrifolia fruit and insect extracts
Authors: จินตนา มาสูงเนิน
Keywords: สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
สารสกัดจากพืชสมุนไพร
สารสกัดลูกยอ
Biological activities
Morinda Citrifolia unripe fruit
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สาขาวิชาเคมีประยุกต์
Abstract: สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรได้รับความสนใจอย่างมากตั้งแต่อดีตโดยนิยมมาใช้เป็นยาแผนโบราณในการรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ เป็นต้น นอกจากนี้แมลงกินได้เป็นที่นิยมรับประทานในประเทศไทย ได้แก่ ดักแด้ แมงสะดิ้ง จิ้งโกร่ง จิ้งหรีด ตั๊กแตนปาทังก้า และรถด่วน เนื่องจากมีปริมาณโปรตีนสูง ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากลูกยอไม่สุก (Morinda citrifolia) และแมลงกินได้โดยจะทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ ได้แก่ เอนไซม์เเอล-ฟากลูโคซิเดส เอนไซม์เเอลฟาอะไมเลส เอนไซม์ไทโรซิเนส และเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเทอเรส สำหรับการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดลูกยอไม่สุก พบว่าชั้นเมทานอลมีปริมาณฟีนอ-ลิกรวมสูงสุดและมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ดี ในขณะที่สารสกัดชั้นเอทิลอะซิเตทมีปริมาณฟลาโวนอยด์รวมสูงสุดและมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูง สารสกัดชั้นเอทิลอะซิเตทและเมทา-นอลสามารถเป็นสารยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสและแอลฟากลูโคซิเดสอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามสารสกัดจากลูกยอมีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้น้อยกว่าสารมาตรฐาน ในส่วนของฤทธิ์ทางชีวภาพและความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ของสารสกัดหยาบจากแมลงกินได้ พบว่า ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบชั้นเมทานอลจากตั๊กแตนปาทังก้ามีฤทธิ์ดีกว่าแมลงชนิดอื่น สารสกัดหยาบชั้นไดคลอโรมีเทนของแมลงกินได้มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโค-ซิเดสได้ดี ได้แก่ แมงสะดิ้ง จิ้งโกร่ง และจิ้งหรีด ในขณะที่สารสกัดหยาบชั้นเอทิลอะซิเตทของดักแด้มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสดีที่สุด สำหรับสารสกัดหยาบที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไท-โรซิเนสดี ได้แก่ จิ้งโกร่งชั้นไดคลอโรมีเทน เอทิลอะซีเตตและเมทานอล และตั๊กแตนปาทังก้าชั้นเอทิล-อะซีเตท นอกจากนี้สารสกัดหยาบที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเทอเรสดีที่สุดคือ จิ้งโกร่งชั้นเฮกเซนและไดคลอโรมีเทน จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากลูกยอไม่สุกและสารสกัดหยาบจากแมลงกินได้มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ที่มีประสิทธิภาพของโรคเบาหวานและโรคความจำเสื่อม รวมทั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีได้ดี
Biological compounds of the crude extract from medicinal plants, including fruits, have long been interesting to traditional medicine, including for treatment of diabetes, Alzheimer’s disease, cancer, and heart disease. Various types of insects including silkworm pupae, house cricket, short-tailed cricket, field cricket, Bombay locust, and bamboo caterpillar have been widely eaten in Thailand because they contain high protein. The objective of the study was to study the biological activity of the crude extracts from Morinda citrifolia unripe fruits and many edible insects. The crude extracts were investigated for antioxidant activity and enzyme inhibitions, e.g. α -glucosidase, α -amylase, acetylcholinesterase, and tyrosinase. Regarding the biological activities of unripe Morinda citrifolia fruits, the methanolic fractions showed the highest total of phenolic contents and tyrosinase inhibition activity. The ethyl acetate fraction had the highest total of flavonoid content and free radical scavenging capacity. Ethyl acetate and methanol fractions exhibited α -amylase and α -glucosidase inhibitors. The inhibitory activities of the purified fractions revealed less than the standard inhibitors. For the bioactivity and enzyme inhibition of the crude extracts from edible insects, methanol extract of Bombay locust had better antioxidant activity than other insects. The dichloromethane extracts of several insects such as house cricket, short-tailed cricket, and field cricket exhibited potential α -glucosidase inhibitors. The ethyl acetate extract of silkworm pupae displayed the most potential inhibitory activity of α -amylase. The dichloromethane extract of short-tailed cricket, the ethyl acetate extract of short-tailed cricket and Bombay locust and the methanol extract of short-tailed cricket showed effective tyrosinase inhibitors. Hexane and dichloromethane extracts of short-tailed cricket were determined to be significant acetylcholinesterase inhibitors. The results showed that purified extracts of Morinda citrifolia unripe fruits and crude extracts of edible insects exhibited antioxidant activities and potential enzyme inhibitors for antidiabetics, Alzheimer’s disease treatments, and melanogenesis.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4203
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - SCI)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-175310.pdfการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากลูกยอและแมลง5.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.