Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2054
Title: | การพัฒนายูสเซอร์อินเตอร์เฟสเชิงปฏิสัมพันธ์เพื่อการรับรู้และการใช้ประโยชน์ของกลุ่มวัยทำงานในช่วงอายุ 45-65ปี |
Other Titles: | The development of user interface interactive for perception and utilization in working age (45-65 year) |
Authors: | เบญนภา ชาติเชื้อ |
Keywords: | ยูสเซอร์อินเตอร์เฟส สื่อเชิงปฏิสัมพันธ์ ผู้สูงอายุ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน. สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน |
Abstract: | ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถเรียนรู้และควบคุมสื่อได้ด้วยตัวเอง แต่สำหรับผู้ใช้ที่มีอายุมากขึ้น พบว่ามีปัญหาในการใช้งาน เนื่องจากการออกแบบยูสเซอร์อินเตอร์เฟสที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการและปัญหาการใช้งานยูสเซอร์อินเตอร์เฟสเชิงปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มวัยทำงานช่วงอายุ 45-65 ปี 2) เพื่อสร้างยูสเซอร์อินเตอร์เฟสเชิงปฏิสัมพันธ์ต้นแบบ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้งานยูสเซอร์อินเตอร์เฟสเชิงปฏิสัมพันธ์ต้นแบบ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ กลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 45-65 ปี ในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นผู้ที่ใช้งานแท็บเล็ตเป็นประจำ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) กลุ่มที่ทดลองใช้ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสรูปแบบเดิม 2) กลุ่มที่ทดลองใช้ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสรูปแบบที่ปรับปรุงแล้ว กลุ่มละ 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามเพื่อถามความคิดเห็นขณะใช้งาน แบบสอบถามเพื่อสำรวจความต้องการในการใช้งานยูสเซอร์อินเตอร์เฟส ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสต้นแบบที่ได้รับการพัฒนาแล้ว แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้งานยูสเซอร์อินเตอร์เฟสต้นแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติในการเปรียบเทียบ Independent Samples T-Test และ One-way ANOVA เพื่อทดสอบความแตกต่างของระดับความต้องการในการใช้งานยูสเซอร์อินเตอร์เฟสของกลุ่มตัวอย่าง
จากการศึกษาความต้องการและปัญหาในการใช้งานยูสเซอร์อินเตอร์เฟส พบว่าด้านการเข้าถึงข้อมูลต้องการให้ปรับปรุงมากที่สุด โดยต้องการให้มีการเลื่อนหน้าดูข้อมูลเหมือนกับการเปิดหนังสือมากที่สุด ส่วนในด้านการออกแบบองค์ประกอบต่างๆ บนหน้าจออยู่ในระดับปานกลาง โดยต้องการให้มีสัญลักษณ์ที่ประกอบด้วยเครื่องหมายและตัวอักษรอธิบายใต้ภาพมากที่สุด และในด้านรูปแบบการโต้ตอบในการใช้งานอยู่ในระดับปานกลาง โดยที่ผู้ใช้ต้องการควบคุมสื่อต่างๆ ได้ด้วยตัวเองส่วนผลที่ได้จากการศึกษาความต้องการและปัญหาในการใช้งานยูสเซอร์อินเตอร์เฟส นามาพัฒนาเป็น ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสต้นแบบโดยใช้หลักเกณฑ์สาคัญได้แก่ TWCAG 2010 (Thai Web Content Acces-sibility Guidelines 2010) เป็นแนวทางในการออกแบบ และผลจากการศึกษาความพึงพอใจในการใช้งาน ยูสเซอร์อินเตอร์เฟสในเชิงปฏิสัมพันธ์ต้นแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่าด้านรูปแบบการโต้ตอบในการใช้งาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะการควบคุมสื่อต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ส่วนในด้านการออกแบบองค์ประกอบต่างๆ บนหน้าจอมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ไม่ว่าจะเป็นความเหมาะสมของขนาดสัญลักษณ์ สัญลักษณ์มีความเป็นมาตรฐานสื่อความหมายได้ชัดเจน และด้านการเข้าถึงข้อมูลมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยที่ผู้ใช้พึงพอใจที่สามารถกลับไปยังหน้าสารบัญได้ง่าย และเลื่อนดูข้อมูลในแต่ละหน้าได้ง่าย เป็นต้น Nowadays, users can learn and control those medias by themselves. But for elders, there are many problems arisen because the user interface is not appropriate. So, the user does not get the benefit of its use. Thus, the objective of this study 1) to study the needs and problems of the user interface of the elders. 2) to create user interface prototypes and then 3) to evaluate the satisfaction of the user interface prototype. The subjects were elders aged 45-65 years who used the tablet regularly and divided into two groups 1) the group used user interface original form. 2) the group used user interface prototype that each groups had 45 people. The instruments were think aloud protocol questionnaires, questionnaires asking for use need, user interface prototype and questionnaires asking for use satisfaction. The statistics use for the data analysis were percentage mean and standard deviation and analysis comprised Independent-Samples T-Test and One-way ANOVA. The results of the study revealed that the subjects had the highest problem in accessing the data by scrolling page. Other problems were the design elements of the screen, subjects want to icon design consists of a symbol and text descriptions and the form interaction between system and user, subjects want to control media by themselves. Then the results of investigation applied to designing and developing a user interface prototype. Moreover, key guidelines use in design was TWCAG 2010 (Thai Web Content Accessibility Guidelines 2010). The finally, The results of evaluation the satisfaction of the user interface prototype revealed that the form interaction between system and user was highest level, especially subjects can control media by themselves. Next, the design elements of the screen was high level, suitability if icon size, clearly of icon design. And accessing the data was high level too, subjects can return to content page easily and can scrolling page easily. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2054 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - SCI) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
139322.pdf | การพัฒนายูสเซอร์อินเตอร์เฟสเชิงปฏิสัมพันธ์เพื่อการรับรู้และการใช้ประโยชน์ของกลุ่มวัยทำงานในช่วงอายุ 45-65ปี | 8.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.