Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3181
Title: | การพลิกฟื้นธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มผู้ประกอบการที่มีความเติบโตแบบลดลง (turnaround) |
Authors: | สลิตตา สาริบุตร |
Keywords: | วงจรธุรกิจ การพลิกฟื้นธุรกิจ Altman Z-score Business Life Cycle Turnaround SMEs |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. |
Abstract: | หลังจาก วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยประสบในปี พ.ศ. 2540 ไทยได้ให้ความสำคัญต่อ SME ได้มีการจัดตั้ง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Bank) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีการส่งเสริม SME แบบ Portfolio Approach โดยแบ่ง SMEs เป็นกลุ่มตาม วงจรธุรกิจ (life cycle) กล่าวคือกลุ่ม Pre-start-up, Start-up, Expansion, High Growth, Internationalization และกลุ่ม Turn Around สสว. ได้นิยามคำว่า Turnaround หมายถึง กลุ่มผู้ประกอบการที่มีความเติบโตแบบลดลง เป็นกลุ่มที่มีรายได้รวม 3 ปี ลดลงรวมกันมากกว่า ร้อยละ 20 แต่ตามทฤษฎีการพลิกฟื้น Turnaround หมายถึง “การพลิกฟื้นธุรกิจ” (Turnaround) ความหมายรวมตั้งแต่ ความตกต่ำ (Decline) ในขั้นตอนการดำเนินงานของบริษัท และตามมาด้วย ขั้นตอนการการฟื้นตัว ในปี 2559 มีจำนวนนิติบุคคลที่เป็น SME นำส่งงบการเงินต่อเนื่อง 4 ปี ล่าสุด จำนวน 23,615 รายจากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เกณฑ์รายได้รวมจากงบการเงิน 4 ปี ล่าสุด พบว่า ผู้ประกอบการ SME ที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเติบโตแบบลดลง (Turnaround) เป็นจำนวน 71,170 (35.74%) และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในปีต่อๆ ไป นับว่าเป็นภาระหนักของรัฐบาลในการส่งเสริม SME ดังนั้น การลดจำนวน Turnover จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ วิธีหนึ่งที่ทำได้คือป้องกันไม่ให้ธุรกิจตกอยู่ในระยะ ตกต่ำ (Decline) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม เสนอแนะว่า SME ควรหมั่น “ตรวจสุขภาพธุรกิจ” เพื่ออุดช่องโหว่ และเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องหันมาให้ความสำคัญ โดยมีการ “ตั้งรับ” และวางแผนเรื่องการเงินไว้ล่วงหน้า สำหรับบางธุรกิจที่อาจประสบปัญหาสภาพคล่อง และเกิดภาวะชะลอตัว บางรายร้ายแรงถึงขนาดนำไปสู่ปัญหาหนี้เสีย (NPL) หรือ ติดเครดิตบูโร ซึ่งจะยิ่งทำให้ธุรกิจเข้าสู่ภาวะตีบตัน เพราะนั่นหมายถึง การติดแบล็คลิสต์ในการขอกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อมาประคองธุรกิจ ก็จะหมดโอกาสไปด้วย การตรวจวัดสุขภาพธุรกิจจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ทันท่วงที Altman Z-Score เป็นเครื่องมือตรวจวัดสุขภาพทางการเงินของบริษัทที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก การใช้ค่า Z-Score (Altman, 1968) ในการวิเคราะห์พื้นฐานเพื่อวัดสุขภาพทางการเงินของบริษัท ใช้เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการล้มละลายของบริษัท ซึ่งมีข้อดีคือเป็นเครื่องมือที่ประยุกต์ใช้ได้ง่าย และมีความแม่นยำ บทความนี้จึงมุ่งอธิบายถึง วงจรธุรกิจ (Business Life Cycle) การพลิกฟื้น (Turnaround) เครื่องมือตรวจวัดสุขภาพธุรกิจ Altman Z-score อันจะเป็นการส่งผลให้ SME สามารถประคองอยู่รอดได้ และมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคตได้อย่างยั่งยืน |
Description: | โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สลิตตา สาริบุตร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3181 |
Appears in Collections: | บทความ (Article - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Salitta_turnaround_BusRMUTT.pdf | การพลิกฟื้นธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มผู้ประกอบการที่มีความเติบโตแบบลดลง (turnaround) | 971.53 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.