Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3400
Title: | หัตถกรรมจักสานไทยพวน : รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อธำรงอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน |
Other Titles: | Phuen basketry handicraft : knowledge management model of local wisdom for local art and culture identity value by community participation |
Authors: | พนิดา สมประจบ |
Keywords: | เครื่องจักรสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น หัตถกรรม อัตลักษณ์ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะศิลปศาสตร์. |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ภูมิปัญญาของงานจักสานไทยพวน 2) สภาพและปัญหาการจัดการความรู้งานจักสานไทยพวน และ 3) รูปแบบการจัดการความรู้งานจักสานไทยพวน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 120 คน ประกอบด้วยกลุ่มผู้รู้จำนวน 15 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน 40 คน และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องจำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ การตรวจสอบข้อมูลใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ และนำเสนอข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาของงานจักสานไทยพวนมีที่มาจากบรรพบุรุษที่อพยพมาจากเมืองเชียงขวาง วัสดุที่ใช้คือไม้ไผ่สีสุก รูปแบบของการจักสานส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ตะกร้า ไซ กระด้ง กระเป๋า ด้านลวดลายพบว่าส่วนใหญ่เป็นลายขัด ลายดอกพิกุล และลายหนามทุเรียน สภาพการจัดการความรู้งานจักสานไทยพวนพบว่า การกำหนดความรู้นิยมนำไม้ไผ่สีสุกมาจักสาน การแสวงหาความรู้มีที่มาจากบรรพบุรุษ การแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยการพูดคุย การจัดเก็บความรู้ในตัวบุคคลและเป็นลายลักษณ์อักษร และการถ่ายทอดความรู้แบบบุคคลสู่บุคคล ส่วนปัญหาการจัดการความรู้พบว่า 1) การกำหนดความรู้ ขาดความรู้ในการกำหนดความรู้ 2) การแสวงหาความรู้ คือ ไม่มีเวลาในการแสวงหาความรู้ 3) การแลกเปลี่ยนความรู้ ไม่มีการแลกเปลี่ยนความรู้เท่าที่ควร 4) การจัดเก็บความรู้ ไม่มีการจัดเก็บความรู้เป็นลายลักษณ์อักษร และ 5) การถ่ายทอดความรู้ ผู้ถ่ายทอดขาดทักษะในการถ่ายทอดและไม่มีผู้มารับการถ่ายทอดความรู้ รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจักสานไทยพวน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดความรู้โดยการตัดสินใจร่วมกันของช่างจักสาน 2) การแสวงหาความรู้ที่มาจากภายในและภายนอกชุมชน 3) การแลกเปลี่ยนความรู้แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ 4) การจัดเก็บความรู้ในตัวบุคคลและเป็นลายลักษณ์อักษร คือ เอกสาร ตัวอย่างงานจักสานจริง พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ 5) การถ่ายทอดความรู้แบบบุคคลสู่บุคคล บุคคลสู่กลุ่ม และกลุ่มสู่กลุ่ม โดยได้รับความมือจากชุมชน สถานศึกษา และการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ The objective of this study is the local wisdom of Phuen Basketry, the knowledge management and proposing the model of Phuen Basketry knowledge management for Local Art and Culture Identity Value by community participation. This one was a qualitative research. The subjects were 120 persons specifically chosen namely 15 knowledge persons, 40 practitioners and 65 related persons. Instruments were the observation and interview. Triangular check was employed for data correction and will be presented in descriptive research. The finding revealed that Phuen Basketry local wisdom comes from the ancestors emigrating from Xieng Khouang, made of golden bamboo and used in daily life. They made in the shape of basket, bamboo fish trap, treshing basket and bags. It was found that most are in dok pikun, khad lai and durian thorn pattern. Moreover, it was found that they assigned the work from golden bamboo to weave, learned from ancestors and the specialists, exchanged the knowledge by talking to each other, gathered the knowledge with them and taught from person to person. There were some problems for assigning the knowledge, lacking how to assign the knowledge and there was no time for learning. There was an exchange the knowledge not as much as they should be. There was no written document for collecting the knowledge and the teachers lacking the skills for instructing and one more important thing was there was no one to learn. There are 5 steps for local wisdom knowledge management; 1) knowledge identifying by the basket makers, 2) acquiring for the knowledge both inside and outside the community, 3) sharing the knowledge formally and informally, 4) storing knowledge by the people themselves and in written documents, basket models, museums, knowledge centers and in medias, and 5) transferring knowledge from person to person, person to a group, a group to a group in a community and academic institutes and being supported by Public sectors. |
Description: | วจ TT 873 พ199ห |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3400 |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - LARTS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT_152499.pdf | หัตถกรรมจักสานไทยพวน : รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อธำรงอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน | 11.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.