Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3431
Title: | อิทธิพลของการปลูกพืชร่วมระหว่างข้าวโพดหวานลูกผสมและถั่วเขียวผลผลิตสูงพันธุ์ใหม่ 3 พันธุ์ ต่อผลผลิต องค์ประกอบผลผลิตและค่าการใช้ประโยชน์จากที่ดิน |
Other Titles: | Effects of intercropping between hybrid sweet corn and 3 new high yield mungbeans on yield, yield components and land equivalent ratio |
Authors: | ทองมี เหมาะสม |
Keywords: | การปลูกพืชร่วม ข้าวโพดพันธุ์ผสม ถั่วเขียว พันธุ์พืช |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีการเกษตร. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช |
Abstract: | การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาพันธุ์พืชร่วมและแบบการปลูกพืชร่วมที่เหมาะสมระหว่างข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์การค้า Sugar Star กับถั่วเขียวผลผลิตสูงพันธุ์ใหม่ 3 พันธุ์ (KUML1, KUML3, KUML8)
โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่ 1 เป็นการปลูกเปรียบเทียบแบบปลูกพืชเดี่ยวและ ปลูกพืชร่วมซึ่งปลูกขนานกับแถวข้าวโพดด้านๆ ละ 1 แถวของถั่วเขียว 3 พันธุ์ และการทดลองที่ 2 ปลูกเปรียบเทียบแบบปลูกพืชเดี่ยว ปลูกร่วมขนานกับแถวข้าวโพด 1 และ 2 ด้าน ปลูกระหว่างต้นข้าวโพดหวานและปลูกแบบแถบในอัตรา 2:2 และ 2:4 แถวของข้าวโพดหวานและถั่วเขียวพันธุ์ KUML1 ได้ปลูกทดลองที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีระหว่างเดือน ธ.ค.2559-มี.ค.2560 และ ส.ค.-ต.ค. 2560 โดยแต่ละการทดลองใช้แผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ 7 สิ่งทดลอง
ผลการทดลองที่ 1 พบว่า ถั่วเขียวพันธุ์ KUML1 เป็นพันธุ์ที่ปลูกร่วมกับข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์การค้า Sugar Star ที่ให้ค่า LER สูงสุด 1.73 ทั้งนี้โดยไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตของข้าวโพดหวาน ทั้งนี้ ถั่วเขียวมีผลผลิตลดลง 26.3 เปอร์เซ็นต์ และจากผลการทดลองที่ 2 แสดงให้เห็นว่า แบบการปลูกพืชร่วมที่มีแถวถั่วเขียวขนานกับแถวข้าวโพด ด้านละ 1 แถว เป็นแบบที่ให้ค่า LER สูง 1.58 ซึ่งมากกว่าการปลูกแบบเดี่ยวและแบบปลูกอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผลผลิตของถั่วเขียวในแบบนี้ลดลงเพียง 35.9 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตที่ปลูกแบบเดี่ยว The objectives of this research were to find the compatible crop cultivars and the appropriate patterns of intercropping system between hybrid sweet corn (Sugar Star) and 3 new high yielding cultivars of mungbeans (KUML1, KUML3, KUML8). There were 2 trails conducted in this experiment. The 1st experiment was to compare the patterns of sole cropping and intercropping which hybrid sweet corn was cultivated on one side of 3 new high yielding of mungbeans. The 2nd experiment was to compare the patterns of the sole cropping and intercropping one row parallel of mungbeans KUML1 on one side and both sides of hybrid sweet corn with row ratio 2C:2M and 2C:4M. The experiment was conducted at Faculty of Agricultural Technology at RMUTT from December 2016 to March 2017 and from August 2017 to October 2017. The experiment was conducted by randomized complete block design (RCBD) on 3 replications with 7 treatments. The result of the 1st experiment showed that the KUML1 was the best cultivar for growing with hybrid sweet corn in intercropping system. This led to the highest LER equal to 1.73. Moreover, there was no effect on the yield of hybrid sweet corn. Whereas, the yield of KUML1 in this system decreased only 26.3%. The result of the 2nd experiment showed that intercropping patterns with one row parallel of KUML1 and on both sides of hybrid sweet corn gave higher LER (1.58) than sole cropping and other intercropping systems. However, the yield of mungbean in this system decreased 35.9 % compared with sole cropping. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3431 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - AGR) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-160335.pdf | อิทธิพลของการปลูกพืชร่วมระหว่างข้าวโพดหวานลูกผสมและถั่วเขียวผลผลิตสูงพันธุ์ใหม่ 3 พันธุ์ ต่อผลผลิต องค์ประกอบผลผลิตและค่าการใช้ประโยชน์จากที่ดิน | 39.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.