Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3299
Title: การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน
Other Titles: A study of learning achievement in social studies on the sufficient economy through the flipped classroom strategy
Authors: กาญจนา จันทร์ช่วง
Keywords: การจัดการเรียนรู้
ห้องเรียนกลับด้าน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา
Issue Date: 31-Oct-2018
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษา 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษาเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ก่อนเรียนและ หลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 3) เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้แบบปกติและการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2559 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี จำนวนนักเรียน 89 คน ได้มาจากการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ ห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P <.05) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P <.05) 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน สูงกว่าหลังการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P <.05)
This research aimed to compare 1) the seventh grade student’ learning achievement before and after studying social studies on the sufficiency economy through normal pedagogic strategy, 2) the seventh grade student’ learning achievement before and after studying social studies on the sufficiency economy through the flipped classroom strategy, and 3) the seventh grade student’ learning achievement in social studies on the sufficient economy studying through normal pedagogic strategy and the flipped classroom strategy. The sample group, selected by cluster sampling, was consisted of 89 seventh grade students who were studying in Triamudomsuksapattanakarn Pathumthani school in the second semester of academic year 2016. The research instruments used for collecting data were the flipped classroom strategy lesson plans on the sufficient economy, and pre and post learning achievement tests. The data were analyzed using mean, standard deviation, paired sample t-test and independent sample t-test. The research revealed that 1) as the mean of posttest scores was higher than mean of pretest scores, the seventh grade student’ learning achievement after studying social studies on the sufficiency economy through normal pedagogic strategy was higher at the significant level of .05(P<.05), 2) as the mean of posttest scores was higher than the mean of pretest scores, the seventh grade student’ learning achievement after studying social studies on the sufficiency economy through the flipped classroom strategy was higher at the significant level of .05(P <.05) , and 3) comparing the mean of posttest scores of these two groups, the seventh grade student’ learning achievement in social studies on the sufficient economy studying through the flipped classroom strategy was higher than the normal pedagogic strategy at the significant level of .05(P <.05)
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3299
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-158601.pdfA study of learning achievement in social studies on the sufficient economy through the flipped classroom strategy3.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.