Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3796
Title: | การศึกษาความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Other Titles: | A Study of Undergraduate Students’ Stress in 2nd Semester 2018, Rajamangala University of Technology Thanyaburi |
Authors: | วารุณี มีมุ่งบุญ |
Keywords: | การศึกษาความเครียด นักศึกษาระดับปริญญาตรี |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กองพัฒนานักศึกษา |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2561 ภาคเรียนที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำแนกตามคณะ/วิทยาลัย สาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 24,839 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความเครียด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และการหาค่าร้อยละ (Percentage)
ผลการวิจัยพบว่า
ความเครียดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2561 ภาคเรียนที่ 2 พบว่า ผู้ตอบแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง แปลผลระดับความเครียด 7-10 คะแนน แสดงว่าเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย 8,457 คน คิดเป็นร้อย 34.05 ระดับความเครียด 15 คะแนนขึ้นไป แสดงว่าเครียดมาก 6,599 คน คิดเป็นร้อยละ 26.57 ระดับความเครียด 11-14 คะแนน แสดงว่าเครียดปานกลาง จำนวน 6,217 คน คิดเป็นร้อยละ 25.03 ระดับความเครียด 3-6 คะแนน แสดงว่าปกติ ไม่เครียด จำนวน 2,599 คน คิดเป็นร้อยละ 10.46 และระดับความเครียด 0-2 คะแนน แสดงว่าผู้ตอบไม่จริงใจ ไม่แน่ใจ ในคำตอบ จำนวน 967 คน คิดเป็นร้อยละ 3.89 ตามลำดับ The research purposes were to study undergraduate students’ stress in 2nd semester 2018, Rajamangala University of Technology Thanyaburi related to the faculty, the college and the department. The sample group was 24,839 undergraduate students at B.A. level. The instrument was the questionnaire. The statistics used for data analysis was Frequency and Percentage. The findings revealed respectively undergraduate students’ stress according to the self-assessment and stress analysis interpreted that 8,457 participants were slightly higher than normal (7 – 10 points) at the percentage of 34.05. 6,599 participants were higher stress (15+ points) at the percentage of 26.57. 6,217 participants’ stress were at the average (3 – 6 points) at the percentage of 25.03. 2,599 participants were significantly at the normal stress (0 – 2 points) at the percentage of 10.46. It can be summarized that the participants are not sincere to answer the questionnaires. 967 participants (3.89%) were unsure of the answers. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3796 |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - DSD) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
202010310 varunee_Research.pdf | การศึกษาความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.