Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3864
Title: | การพิสูจน์เอกลักษณ์เพื่อควบคุมวัตถุดิบสมุนไพร ในรายวิชาฝึกทักษะวิชาชีพเภสัชกรรมแผนไทย 1 |
Other Titles: | Characteristic identification for controlling herbal materials in practical skills in Thai traditional pharmacy 1 subject |
Authors: | ชลิตรา วงษ์นุ่ม |
Keywords: | พิสูจน์เอกลักษณ์สมุนไพร ควบคุมวัตถุดิบสมุนไพร สมุนไพร |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย. |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ พิสูจน์เอกลักษณ์เพื่อควบคุมวัตถุดิบสมุนไพรและป้องกันความผิดพลาดในการจัดฐานปฏิบัติการในรายวิชาฝึกทักษะวิชาชีพเภสัชกรรมแผนไทย 1 โดยการคัดเลือกสมุนไพรที่เกิดข้อผิดพลาดบ่อยในการจัดฐานปฏิบัติการ คือ เทียนทั้ง 9 ชนิดประกอบด้วย เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนสัตตบุษย์ เทียนเยาวภาณี เทียนเกล็ดหอย และเทียนตากบ โดยการพิสูจน์เอกลักษณ์เพื่อควบคุมวัตถุดิบสมุนไพรในการศึกษานี้ประกอบด้วย ปริมาณสิ่งปลอมปน ลักษณะทางจุลทรรศน์ ค่าคงที่การสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล และการตรวจหาเอกลักษณ์ทางเคมีด้วยวิธี Thin-layer chromatography
ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละของปริมาณสิ่งปลอมปนในเทียนทั้ง 9 ชนิด มีค่าดังนี้ เทียนดำเท่ากับ 0.06 ±0.01 เทียนแดง เท่ากับ 0.12 ±0.04 เทียนขาว เท่ากับ 0.08 ±0.02 เทียนข้าวเปลือก เท่ากับ 0.34 ±0.09 เทียนตาตั๊กแตน เท่ากับ 0.05 ±0.02 เทียนสัตตบุษย์ เท่ากับ 0.08 ±0.05 เทียนเยาวภาณี เท่ากับ 0.02 ±0.03 เทียนเกล็ดหอย เท่ากับ 0.11 ±0.05 และเทียนตากบ เท่ากับ 0.04 ±0.02 การศึกษาทางจุลทรรศน์โดยดูส่วนประกอบของเทียนแต่ละชนิดพบว่าเทียนแต่ละชนิดให้ผลเป็นไปตามตำรามาตรฐานสมุนไพรไทย ในการศึกษาค่าคงที่การสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลพบว่าค่าร้อยละของสารสกัดที่ได้ต่อน้ำหนักของเทียนดำ เท่ากับ 28.16 เทียนแดง เท่ากับ 11.07 เทียนขาว เท่ากับ 12.10 เทียนข้าวเปลือก เท่ากับ 14.56 เทียนตาตั๊กแตน เท่ากับ 7.39 เทียนสัตตบุษย์ เท่ากับ 16.70 เทียนเยาวภาณี เท่ากับ 9.36 เทียนเกล็ดหอย เท่ากับ 7.34 และเทียนตากบ เท่ากับ 9.46 การตรวจหาเอกลักษณ์เทียนทั้ง 9 ชนิดด้วยวิธี Thin-layer chromatography พบวิธีใช้น้ำยาแยกสาร 2 ระบบ คือ 1) Acetic acid : Toluene : Ether : Methanol ในอัตราส่วน 1.8 : 12.06 : 6.03 : 0.1 ตามลำดับ สำหรับสิ่งสกัดเทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนสัตตบุษย์ เทียนเยาวพาณี และเทียนเกล็ดหอย 2) Ethyl acetate : Chloroform : Acetic acid : Methanol อัตราส่วน 9.7 : 6.5 : 0.6 : 3.2 ตามลำดับ สำหรับสิ่งสกัดเทียนดำ เทียนแดง และเทียนตากบ
จากผลการศึกษานี้จะเป็นแนวทางในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของเทียนทั้ง 9 ชนิดและควบคุมวัตถุดิบสมุนไพรในรายวิชาฝึกทักษะวิชาชีพเภสัชกรรมแผนไทย 1 และเป็นต้นแบบในการรับเข้าวัตถุดิบสมุนไพรทั้งในรายวิชาฝึกปฏิบัติและการรับเข้าวัตถุดิบสมุนไพรของศูนย์ผลิตและบริการวิชาการผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามในอนาคต This research aimed to identifying for controlling herbal raw materials in order to prevent errors in the preparation of the operating base in the Thai Traditional Pharmacy Professional Skills Training 1 course by selecting the herbs that are frequently mistaken in the preparation of the operating base, namely, the 9 fennel seeds consisting of Nigella sativa L., Lepidium sativum L., Cuminum cyminum L., Foeniculum vulgare Miller subsp. var. vulgare , Anethum graveolens L. , Pimpinella anisum L., Trachyspermum ammi L. Sprague , Plantago ovata Forssk. and Carum carvi L. This study was studied including foreign matter quantitation, microscopic characterization, ethanol solvent extraction value, and chemical fingerprinting by Thin-layer chromatography The study found that percentage of foreign matter in the 9 fennel seeds were as follows: N. sativa was 0.06±0.01, L. sativum was.0.12±0.04, C. cyminum was 0.08 ± 0.02, F. vulgare was 0.34 ± 0.09, A. graveolens was 0.05 ± 0.02, P. anisum was 0.02 ±0.03, T. ammi was 0.02 ±0.03, P. ovata was 0.11±0.05 and C. carvi was 0.04 ±0.02 Microscopy studies investigating the composition of each fennel seeds were found that each type of fennel seeds had the results consequence to the Thai Herbal Pharmacopeia. In addition, the ethanol extractive values were found that the percentage of extract obtained per weight of N. sativa was 28.16, L. sativum was 11.07, C. cyminum was 12.10, F. vulgare was 14.56, A. graveolens was 7.39, P. anisum was 16.70, T. ammi was 9.36, P. ovata was 7.34 and C. carvi was 9.46 Identification of 9 fennel seeds by thin-layer chromatography method. The method was found to use in two systems of mobile phase: 1) Acetic acid: Toluene: Ether: Methanol in a ratio of 1.8: 12.06: 6.03: 0.1, respectively for C. cyminum, F. vulgare, A. graveolens, P. anisum, T. ammi and P. ovata, 2) Ethyl acetate: Chloroform: Acetic acid: Methanol in a ratio of 9.7: 6.5: 0.6: 3.2, respectively, for N. sativa , L. sativum and C. carvi. From the results of this study, it will be a guideline for the method of proving the identity of the 9 fennel seeds and controlling the herbal raw materials in the Thai Traditional Pharmacy Professional Skills Training 1 course and as a model for the identify the raw materials in the practice course and also the raw materials admission of the production center and academic service for health and beauty products in the future. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3864 |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - TMC) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
20230712-R2R-Chalitra V..pdf | Characteristic Identification for controlling herbal materials in Practical Skills in Thai Traditional Pharmacy 1 subject | 2.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.