Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4077
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Other Titles: Factors that influence the decision to enter a bachelor’s degree program at the Faculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi
Authors: สุไบซะ จำนงลักษณ์
Keywords: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ
การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 350 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นแบบสอบถามเชิงปริมาณ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติทดสอบที และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล สรุปว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (62.30%) อายุ 19-20 ปี (72%) อยู่ในภูมิลำเนาเขตกรุงเทพมหานคร/ปริมณฑล (39.70%) คุณวุฒิ ม.6 (90.60%) เกรดเฉลี่ย 3.01 – 3.50 (34.90%) จบจากโรงเรียนรัฐบาล (83.70%) อาชีพของครอบครัว มีอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว (31.10%) และมีรายได้เฉลี่ย 10,001 – 20,000 บาท (39.70%) รายรับจากผู้ปกครองต่อเดือน ไม่เกิน 2,000 บาท (34.60%) โดยทราบข่าวการรับสมัครจากกิจกรรมแนะแนวมากที่สุด (36.60%) และสมัครเข้าศึกษาต่อผ่านช่องทาง TCAS1 (Portfolio) (26.30%) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ที่ระดับมาก ได้แก่ความมั่นใจในชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ค่าเฉลี่ย (4.08) ความทันสมัยของหลักสูตร ค่าเฉลี่ย (4.17) ด้านอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน พบว่าความหลากหลายเครื่องมือปฏิบัติการ ค่าเฉลี่ย (4.12) ด้านอาจารย์ผู้สอน พบว่าประสบการณ์ของอาจารย์ผู้สอน มีค่าเฉลี่ย (4.29) ด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม ความสะอาดของอาคารเรียน ค่าเฉลี่ย (4.19) ด้านสวัสดิการและการบริการ มีค่าเฉลี่ย (4.21) ด้านการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อมัลติมีเดีย มีค่าเฉลี่ย (4.13) ด้านค่านิยมเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ และได้รับการยอมรับในสังคม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ (4.00) การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผลการศึกษาดังกล่าวสรุปว่า ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ภูมิลำเนา ภาควิชา/สาขาวิชาที่เรียน อาชีพผู้ปกครอง รายได้ของครอบครัวส่วนการวิเคราะห์เกี่ยวกับ ระดับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพบว่า กลุ่มตัวอย่างได้ให้ความเห็นระดับการตัดสินใจ ค่าเฉลี่ย (4.15) โดยมีระดับการตัดสินใจระดับมาก
This research aimed to study the factors affecting the decision to (1) decide whether to study a bachelor’s degree program or not, (2) compare factors affecting the decision to choose the Faculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. A questionnaire was used to collect data from 350 respondents. The data were analyzed and tested according to the research objectives using descriptive statistics, including frequency, percentage, average, standard deviation, independent sample t-test for comparing the means of two independent groups, and one-way ANOVA. The results could be concluded that most of the respondents were Females with 62.30% between the ages of 19 and 20 years (72%). 39.70% of them lived in Bangkok and its vicinity area. They had a high school diploma from a government school, (83.70%) G.P.A. range between 3.01 – 3.50 (34.90%). Their parent’s occupation was a merchant and business owner (31.10%) with an average income of 10,000 – 20,000 baht/month (39.70%). Students got paid by their parents at an average of 2,000 baht/month (34.60%). They got information from pre-scheduled admission counseling activities (36.60.%) and chose to apply for TCAS1 (Portfolio) (26.30%). The results showed that the factors affecting the decision to study a Bachelor’s Degree program (at the high level) were the strong belief in the university (4.08), modern curriculum (4.17), educational media in teaching and learning: lab equipment and instruments (4.12), lecturer: teaching experience (4.29), facilities, environment and clean building (4.19), welfare and services (4.21), information: multimedia guide (4.13), and public relations (4.0). The data collected from the respondents were analyzed and showed that there was no significant difference between groups by considering the factors such as sex, age, region, division/program, parent’s occupation, and income. The level of respondent’s attitude affecting the factor of “study a bachelor’s degree program at the Faculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi” was high (4.15).
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4077
Appears in Collections:วิจัย (Research - SCI)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20230313-Research-Subaisa J..pdfFactors that influence the decision to enter a bachelor’s degree program at the Faculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.