Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4137
Title: การพัฒนาเทคโนโลยีความจริงเสริมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Other Titles: Development of Augmented Reality Technology with Mathematics in Problem Solving for Primary 6 (Grade 6) Students
Authors: ทองมา แป้นดวงเนตร
Keywords: เทคโนโลยีความจริงเสริม
คณิตศาสตร์
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โจทย์ปัญหา
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีความจริงเสริมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหา 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหา 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเทคโนโลยีความจริงเสริมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเขียนเขต จำนวน 32 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าประสิทธิภาพของสื่อ ผลการวิจัยพบว่า 1) เทคโนโลยีความจริงเสริมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเฉลี่ยเท่ากับ 82.03/83.59 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเทคโนโลยีความจริงเสริมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this research were to: 1) develop and find the efficiency of augmented reality technology in mathematics for problem solving, 2) compare the learning outcomes before and after using augmented reality technology in mathematics for problem solving, and 3) the students' satisfaction with augmented reality technology in mathematics for problem solving. The sample group used in this research were 32 students in grade 6 at Wat Khian Khet School, by using simple random sampling. The tools used in the research consisted of: 1) learning media, 2) learning management plan, 3) pre-study and post-study tests, and 4) a questionnaire to assess students’ satisfaction towards learning with augmented reality technology in mathematics for problem solving. The statistics used in the data analysis were mean, percentage, standard deviation, and media performance. The research results were as follows: 1) augmented reality technology with mathematics in problem solving for grade 6 students, the average efficacy was 82.03/83.59, 2) the learning outcomes of students after learning was higher than before learning with a statistically significant difference at the .05 level, and 3) students' satisfaction with augmented reality technology in mathematics for problem solving was at the highest level.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4137
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-175323.pdfDevelopment of Augmented Reality Technology with Mathematics in Problem Solving for Primary 6 (Grade 6) Students6.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.