Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4273
Title: | การตกแต่งนุ่มเถาชิงช้าชาลีสำหรับผลิตภัณฑ์งานจักสาน |
Other Titles: | Softening Treatment on Chingcha Charlie Vines for Weaving Products |
Authors: | ณัชพล ตังครโยธิน |
Keywords: | เถาชิงช้าชาลี การฟอกสี การตกแต่งนุ่ม ออกแบบ งานจักสาน |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. สาขาวิชาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการฟอกสีเถาชิงช้าชาลี 2) ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการตกแต่งนุ่มเถาชิงช้าชาลี 3) ออกแบบผลิตภัณฑ์จักสานที่ทำจากเส้นเถาชิงช้าชาลี และ 4) สำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเถาชิงช้าชาลี
ทำการทดลองหาสภาวะที่เหมาะสมในการฟอกสีเถาชิงช้าชาลี คือ ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ โดยแปรเป็น 3 ระดับคือ 0.00 , 0.25 และ 0.50% ใช้เวลาในการต้มโดยแปรเป็น 3 ระดับ คือ 10, 20 และ 30 min วางแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียลโดยการใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Factorial in CRD) ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการตกแต่งนุ่มเถาชิงช้าชาลี โดยศึกษาเวลาในการแช่กลีเซอรีน แปรเป็น 3 ระดับคือ 3, 5 และ 7 วัน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) เพื่อนำไปใช้เป็นวัสดุในผลิตภัณฑ์งานจักสาน และสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์งานจักสานจากเถาชิงช้าชาลีจำนวนผู้บริโภค 100 คน
ผลการวิจัยพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการฟอกสีเถาชิงช้าชาลี พบว่า ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ 0.25% ใช้เวลา 20 min จะได้เส้นเถาที่มีค่าร้อยละของผลผลิต (%Yield) 3.24 ± 0.04 มีค่าแรงดึงสูงสุด 23.70 ± 0.71 N ค่าความสว่าง (L*) 86.54 ± 0.03 ลักษณะที่ปรากฏของเส้นเถามีลักษณะสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างสม่ำเสมอ ผิวสัมผัสเรียบและนุ่ม สภาวะที่เหมาะสมในการตกแต่งนุ่มเถาชิงช้าชาลี พบว่า การแช่กลีเซอรีนเวลา 7 วัน มีค่าแรงดึงสูงสุด 17.88 ± 1.33 N ร้อยละการยืดตัวขณะขาด เท่ากับ 16.42 ± 3.78 ลักษณะที่ปรากฏของเส้นเถามีลักษณะเป็นสีเหลืองสว่างสม่ำเสมอนุ่มมันวาวมาก นำเส้นเถาชิงช้าชาลีที่ได้ไปเป็นวัสดุในงานจักสานผลิตภัณฑ์กระเป๋า โดยออกแบบกระเป๋าเป็น 3 แบบ ได้แก่ 1.กระเป๋าสตางค์ 2.กระเป๋าใส่แว่นตา 3.กระเป๋าถือ วิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์จักสานกระเป๋าจากเถาชิงช้าชาลี พบว่ามีความพึงพอใจในแบบที่ 3 มากที่สุด คิดเป็น 72.00% (M = 5.41) This research aimed to: 1) identify the optimum conditions for bleaching Chingcha Charlie vines, 2) investigate the optimum conditions for softening Chingcha Charlie vines, 3) design the weaving bags made from Chingcha Charlie yarns, and 4) examine the customers’ satisfaction toward the weaving products made from Chingcha Charlie yarns. To find out the optimum conditions for bleaching Chingcha Charlie vines, the experiment was conducted with different concentration levels of sodium hydroxide 0.00, 0.25 and 0.50% with different exposed times of 10, 20 and 30 min. Moreover, to investigate the optimum conditions for the softening treatment of Chingcha Charlie vines, a factorial experiment using Completely Randomized Design (CRD) was performed focusing the time periods of soaking the vines in glycerin solution for 3, 5 and 7 days. Then, the yarns were used as materials for creating weaving products using Completely Randomized Design (CRD). Finally, the survey of 100 customers’ satisfaction toward the weaving products made from Chingcha Charlie yarns was conducted. The research revealed that the optimum conditions for bleaching Chingcha Charlie vines included soaking them in sodium hydroxide at the concentration level of 0.25% for 20 min. The processed vines had the highest percent yield of 3.24 ± 0.04, the highest tensile strength of 23.70 ± 0.71 N and the highest brightness level (L*) of 86.54 ± 0.03. Furthermore, the vines were developed into light brown yarns with color consistency; the yarns were also smooth and soft. The optimum conditions for softening Chingcha Charlie yarns included soaking them in glycerin solution for 7 days.The processed yarns had the highest tensile strength of 17.88 ± 1.33 N with the elongation value of 16.42 ± 3.78, and the yarns were soft glossy light yellow. Lastly, the obtained Chingcha Charlie yarns were used for weaving. Three weaving products were designed. It consisted of: 1) wallets, 2) glasses pouches and 3) Handbags. According to the analysis of the consumers’ satisfaction survey toward the weaving bags made from Chingcha Charlie yarns, it was found that the 3rd design was the most satisfied with the satisfaction level of 72% (M = 5.41). |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4273 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - HET) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-175871.pdf | Softening Treatment on Chingcha Charlie Vines for Weaving Products | 4.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.