Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1058
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคงานวางท่อประปาโดยวิธีดันท่อลอดของการประปาส่วนภูมิภาค |
Other Titles: | A Comparative Study of Pipe Jacking Techniques of The Provincial Water Works Authority |
Authors: | ศราวุฒิ ก๋องใจ |
Keywords: | ท่อประปา การประปาส่วนภูมิภาค |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา |
Abstract: | เนื่องมาจากปัญหาการจราจรในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นในเขตตัวเมืองของจังหวัด ส่งผลให้การประปาส่วนภูมิภาคและผู้รับจ้าง นำโครงการก่อสร้างวางท่อประปาโดยวิธีดันท่อลอดมาปรับใช้เพื่อลดปัญหาการจราจรในบริเวณพื้นที่ที่มีการก่อสร้าง
เทคนิคงานวางท่อประปาโดยวิธีดันท่อลอดที่ใช้ได้แก่ รูปแบบที่ 1 การดันท่อปลอกคอนกรีตแล้วร้อยด้วยท่อประปาที่จะวาง รูปแบบที่ 2 การดันท่อเหล็กเหนียวสองชั้น และ รูปแบบที่ 3 การดันท่อคอนกรีตที่มีท่อเหล็กเป็นท่อวงใน โดยรูปแบบที่ 1 เป็นเทคนิคที่มีการนำมาใช้อยู่แล้ว งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การเปรียบเทียบเทคนิคงานวางท่อลอดของรูปแบบที่ 2 และ รูปแบบที่ 3 ซึ่งได้สรุปขั้นตอนการก่อสร้างแต่ละรูปแบบ รายการเครื่องมือเครื่องจักร การจัดอัตรากำลังคนต่อกลุ่มงาน และอัตราการทำงานของแต่ละรูปแบบการดันท่อ
จากผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่ 3 ไม่ต้องเสียเวลาจากการเชื่อมรอยต่อของท่อขณะที่มีการดันท่ออยู่ จึงใช้เวลาในการดันท่อได้รวดเร็ว ในด้านของต้นทุนการก่อสร้าง รูปแบบที่ 2 ใช้ต้นทุนน้อยที่สุด เนื่องจากมีขั้นตอนการทำงานน้อย อย่างไรก็ตาม รูปแบบที่ 3 มีความยืดหยุ่นในการดันท่อ สามารถปรับแนวการดันท่อในแนวโค้งได้ดีกว่ารูปแบบอื่น ผลการศึกษานี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการประปาส่วนภูมิภาค ผู้รับเหมาวางท่อ ในการพิจารณาเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับงานดันท่อลอดต่อไป Due to the traffic problem in highly populated downtown area of the cities, pipe jacking methods in water work construction projects were employed and adapted by the Provincial Waterworks Authority (PWA) in order to reduce the traffic congestion caused by the piping work projects. There are three types of pipe jacking techniques known as Type 1 Steel Pipe with Concrete Sleeve, Type 2 Steel Concentric Double Cylinder Pipe (SCP) and Type 3 Reinforced Concrete Pressure Pipe. Type 1 was the old technique commonly used while this research focused on comparing the later two techniques. Details from two pipe jacking projects on construction methods, major equipments, resource lists, assigned crew, and the production rate in the jacking activities were summarized. The results of the research showed that Type 3 technique consumed less connection welding time as the result of time efficiency. The construction cost of Type 2 technique was minimal due to fewer steps of working process. However, type 3 techniques was more flexible, easier to adjust to the target path, therefore suitable for curve path. Finally, this research will be useful for PWA and piping work contractors in selecting the right jacking technique for a workshop. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1058 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
127100.pdf | การศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคงานวางท่อประปาโดยวิธีดันท่อลอดของการประปาส่วนภูมิภาค | 8.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.