Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1459
Title: การประเมินการบริหารจัดการของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี
Authors: วีระศักดิ์ หลีนวรัตน์
Keywords: การประเมินตนเอง
ลักษณะการบริหารจัดการประกอบด้วยหลัก 7 ประการ ได้แก่ 1) การนำองค์กร 2) การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ 3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 6) การจัดการกระบวนการ 7) ผลลัพธ์การดำเนินการ
Self Assessment
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ
Abstract: บทคัดย่อ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารจัดการปัญหา อุปสรรค และแนวทางพัฒนาคุณภาพด้านการบริหารจัดการของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี ด้วยวิธีการประเมินตนเอง รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนายก รองนายกเทศมนตรี และปลัดเทศบาล ที่บริหารงานเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 27 แห่ง รวมทั้งสิ้น 92 คน จากนั้นนำข้อมูลไปประมวลผล ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการบริหารจัดการของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี ทั้ง 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) การนำองค์กร 2) การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ 3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 6) การจัดการกระบวนการ 7) ผลลัพธ์การดำเนินการ เป็นการประเมินที่พบทั้งข้อดี-ข้อเสียของการบริหารจัดการมีการใช้หลักการบริหารจัดการในการกำหนดวิสัยทัศน์ วางแผนพัฒนาองค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การให้บริการประชาชนในพื้นที่และนอกพื้นที่ไม่เท่าเทียม ประชาชนมีส่วนร่วมน้อย บุคลากรในองค์กรขาดการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการบริการรูปแบบใหม่อย่างเป็นระบบ ทนสมัย มีประสิทธิภาพ ซึ่งวิเคราะห์ตามหลักการประเมินตนเองและการตรวจสอบตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ส่วนปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขในการบริหารจัดการมีดังนี้ 1) ควรกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และผลลัพธ์ในการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเป็นไปได้ 2) ควรให้นโยบายการสร้างความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรและผลประโยชน์ให้ชัดเจน 3) ควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 4) ควรให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 5) ควรพิจารณาการใช้จ่ายงบประมาณอย่างประหยัด คุ้มค่า และเหมาะสม และ 6) ควรสร้างกิจกรรมเพื่อสร้างศักยภาพและสมรรถนะของบุคลากรในสงกัดเทศบาล เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติงานเชิงแข่งขันที่ต้องการให้เกิดประสิทธิภาพทางการบริการประชาชนและผลสำเร็จของงานได้ต่อไป
Description: วารสารบริหารธุรกิจ ราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2556
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1459
ISSN: 1905-8446
Appears in Collections:บทความ (Article - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
12-การประเมินการบริหารจัดการของผู้บริหาร....pdfการประเมินการบริหารจัดการของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.