Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/150
Title: | ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจของนักศึกษาต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี : กรณีศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Authors: | สุภาพร คูพิมาย |
Keywords: | นักศึกษา--การศึกษาต่อ--วิจัย, แรงจูงใจ--วิจัย, การศึกษา |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจของนักศึกาต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาที่เข้าศึกษาในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2549 จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ANOVA และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วย Scheffe Analysis การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจของนักศึกษาโดยภาพรวม นักศึกษาให้คะแนนเฉลี่ยปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจสูงสุด อยู่ในระดับแรงจูงใจมาก ได้แก่ สาขาวิชาเปิดสอนตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน รองลงมาได้แก่ การเป็นที่ยอมรับของสังคม และสาขาวิชาเปิดสอนตรงตามความต้องการของนักศึกษา สำหรับการวิเคราะห์เป็นรายด้านสามารถสรุปผลได้ดังนี้ ด้านทัศนคติ ปัจจันที่เป็นแรงจูงใจสูงสุดของนักศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับแรงจูงใจมาก ได้แก่ การเป็นที่ยอมรับของสังคม ด้านสถานที่ ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจสูงสุดของนักศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับแรงจูงใจมาก ได้แก่ ความสะดวกในการหาที่พักอาศัย ด้านการศึกษา ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจสูงสุดของนักศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับแรงจูงใจมาก ได้แก่ สาขาวิชาเปิดสอนตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ด้านค่าใช้จ่าย ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจสูงสุดของนักศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับแรงจูงใจมาก ได้แก่ ค่าใช่จ่ายในการศึกษา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจของนักศึกษาต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำแนกตามสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ด้านเพศ มีความแตกต่างกันจำนวน 4 รายการ ได้แก่ ระยะเวลาในการเดินทาง สาขาวิชาเปิดสอนตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน อุปกรณ์การเรียนการสอนทันสมัย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้านภูมิลำเนา มีความแตกต่างกันจำนวน 3 รายการ ได้แก่ ชื่อเสียงของคณะบริหารธุรกิจ ความสะดวกในการเดินทาง และความร่มรื่นภายในมหาวิทยาลัย ด้านอายุ มีความแตกต่างกันจำนวน 2 รายการ ได้แก่ ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย และคณาจารย์ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญ ด้านวุฒิการศึกษา มีความแตกต่างกันจำนวน 4 รายการ ได้แก่ ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยความร่มรื่นภายในมหาวิทยาลัย มีการศึกษาระดับปริญญาโทรองรับ และคณาจารย์ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญ สำหรับด้านที่พักอาศัย และด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว ไม่พบความแตกต่าง การวิจัยครั้งนี้กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purpose of this study was to investigate the motivation factors of student on studying a Bachelor Degree : A Case Study of Faculty of Business Administration Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The sample was obtained through the 345 students. Questionnaires were a research tool in order to collect data. Percentages, arithmetic mean, Standard Deviation, t-test, ANOVA, Scheffe analysis were employed to analyze the data using SPSS Windows software. The result revealed that the factor affecting for student’s motivation on studying a Bachelor Degree were the high level score which is the courses offered and labor market demand, the next importance factors are social need and the courses offered and students demand. The affecting factors can be categorized as follows. Attitudes, the most important factor of student’s motivation factors are the high level score which is social need. Facilities, the most important factor of student’s motivation factors are the high level which is the comfortable accommodation. Education, the most important factor of student’s motivation factors are the high level which is the courses offered and labor market demand. Expense, the most important factor of student’s motivation factors is the high level which is the tuition fee. The data analysis of the comparison between the motivations factors of student on studying a Bachelor Degree with the general background of samples were the following. By gender, were categorized into 4 items, namely, traveling period, courses offered and labor market demand, teaching materials, and other expenses. By domicile, were categorized in to 3 items namely, university’s reputation, convenient for traveling, and university’s environment. By age, were categorized into 2 items, namely, university’s reputation, and teacher competencies. By education, qualifications were categorized into 4 items, namely, university’s reputation, university’s environment, Master degree program offered, and teacher competencies. There were no statistically significant differences in accommodation and income. There were statistically significant related in the positive direction at .05 level in this research. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/150 |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2.Abstract.pdf | ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจของนักศึกษาต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี : กรณีศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | 447.8 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.