Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1790
Title: | การศึกษาอิทธิพลของตัวแปรของการกัดตัวอักษรบนไม้มะพร้าวด้วยเครื่องกัดซีเอ็นซี |
Authors: | สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์ จักรนรินทร์ ฉัตรทอง จุฬาลักษณ์ โรจนานุกูล วรพงค์ บุญช่วยแทน |
Keywords: | เครื่องกัดควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ไม้มะพร้าว ความขรุขระผิว |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Faculty of Engineering |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อความขรุขระผิวในการกัดตัวอักษรบนไม้มะพร้าวด้วยเครื่องกัดควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้ดอกกัดเหล็กกล้ารอบสูง ปัจจัยที่ทำการทดลองประกอบด้วย มุมในการกัด ความเร็วรอบ อัตราป้อน และความลึกในการกัด ที่ให้ค่าความขรุขระผิวที่ยอมรับได้ในกระบวนการ ตัดแท่งผิวเฟอร์นิเจอร์ซึ่งมีค่าความขรุขระผิวอยู่ในช่วง 3.0-9.0 ไมโครเมตร ในการทดลองใช้ไม้มะพร้าวมีความชื้น 11-13% กำหนดมุมในการกัด 0-90 องศา ความเร็วรอบ 1,000-2,000 รอบ/นาที อัตราป้อน 100-500 มิลลิเมตร/นาที ความลึกในการกัด 1-5 มิลลิเมตร และจากการทดลองเบื้องต้น พบว่าความลึกในการกัดและอัตราป้อน ไม่มีผลต่อค่าความขรุขระผิวจึงกำหนดความลึกในการกัดไว้ที่ 3 มิลลิเมตร และอัตราป้อน 250 มิลลิเมตร/นาที จากการทดลองพบว่าปัจจัยที่มีผลความขรุขระ คือ ความเร็วรอบ และมุมในการกัด โดยมีแนวโน้มว่าค่าความขรุขระผิวจะลดลง เมื่อใช้ความเร็วรอบสูงขึ้น ดังนั้นในการกัดไม้มะพร้าวด้วยดอกกัดเหล็กกล้ารอบสูงสามารถกำหนดสภาวะการกัดด้วยสมการ Ra= 3.68+0.000233 Angle – 0.000253 Speed สมการนี้ใช้กับความเร็วรอบอยู่ในช่วง 1,000-2,000 รอบ/นาที อัตราป้อนอยู่ในช่วง 100-500 มิลลิเมตร/นาที ความลึกในการกัด 3 มิลลิเมตร และนำค่าตัวแปรที่ได้ไปทำการทดลองกัดตัวอักษรแบบ 3 มิติ เพื่อหารูปแบบการเดินกัดที่ให้ค่าความขรุขระผิวที่ดีที่สุดและเวลาในการกัด |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1790 |
Appears in Collections: | ประชุมวิชาการ (Proceedings - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TAM-21 p296-302.pdf | การศึกษาอิทธิพลของตัวแปรของการกัดตัวอักษรบนไม้มะพร้าวด้วยเครื่องกัดซีเอ็นซี | 739.88 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.