Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1797
Title: ออกแบบและพัฒนาเครื่องชุบท่อนพันธุ์เพื่อผลิตอ้อยปลอดโรคใบขาว
Authors: พินิจ จิรัคคกุล
รังสิทธิ์ ศิริมาลา
Keywords: โรคใบขาวอ้อย
เชื้อไฟโตพลาสมา
เครื่องชุบท่อนพันธุ์
Issue Date: 2013
Publisher: Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Faculty of Engineering
Abstract: การระบาดของโรคใบขาวอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสร้างความเสียหายในอุตสาหกรรมอ้อยและเกษตรกรจำนวนมาก ในปี 2554 ความเสียหายมากกว่า 100,000 ไร่ ผลผลิตเสียหายมากกว่า 38 เปอร์เซ็นต์ มูลค่าความเสียหาย 1,700 ล้านบาท ซึ่งการผลิตอ้อยปลอดโรคใบขาวสามารถทำได้โดยแช่น้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หรือ แช่น้ำร้อน 52 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที จะสามารถทำลายเชื้อไฟโตพลาสมาในท่ออาหารทุกส่วนในอ้อยได้ โดยการออกแบบและพัฒนามุ่งเน้นการผลิตท่อนพันธุ์อ้อยที่ปลอดโรคใบขาวทั้งแบบการชุบทั้งลำยาว 1.5 เมตร ชุบแบบตัดท่อน (3 ตา) 40 เซนติเมตร และชุบแบบตาเดียว ยาว 6.25 เซนติเมตร พบว่าความสามารถในการชุบทั้งลำ 510 ลำ, 2,500 ท่อน และ 12,200 ตาต่อรอบ ตามลำดับ อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเริ่มต้นที่ 1 กิโลกรัม LPG ต่อชั่วโมง ช่วงเริ่มต้นจากอุณหภูมิ 25-50 องศาเซลเซียสใช้เวลา 1 ชั่วโมง 40 นาที และใช้เวลา 20 นาที เพิ่มเป็นอุณหภูมิ 52 องศาเซลเซียส โดยการรักษาอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสให้คงที่ 2 ชั่วโมง สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง 0.5 กิโลกรัม โดยความยอมรับในการผลิตอ้อยปลอดโรคนิยมชุบที่ 50 องศาเซลเซียส เพื่อลดผลกระทบในท่อนพันธุ์ที่มีตาอ่อนและเปอร์เซ็นต์ความงอก
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1797
Appears in Collections:ประชุมวิชาการ (Proceedings - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TAM-33 p344-347.pdfออกแบบและพัฒนาเครื่องชุบท่อนพันธุ์เพื่อผลิตอ้อยปลอดโรคใบขาว646.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.