Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1844
Title: | การใช้คลื่นแสงอินฟราเรดย่านใกล้แบบฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มและหัววัดไฟเบอร์ออพติกทำนายค่าความชื้นสมุนไพรชนิดผง (จันทร์ลีลา) |
Authors: | ภานุวัฒน์ ทรัพย์ปรุง สุรศักดิ์ ราตรี นิภาพร อมัสสา อรอนงค์ พวงชมพู |
Keywords: | ความชื้น สมุนไพรชนิดผง คลื่นแสงอินฟราเรดย่านใกล้ หัววัดไฟเบอร์ออพติก |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Faculty of Engineering |
Abstract: | จันทร์ลีลาเป็นยาสมุนไพรไทยที่ใช้แพร่หลายมาเป็นเวลานานแล้ว ความชื้นเป็นสาเหตุสำคัญก่อให้เกิดการบนเปื้อนของราและถูกกำหนดให้เป็นคุณสมบัติที่ถูกควบคุม แต่การหาความชื้นโดยการอบแห้งจะเป็นการทำลายตัวอย่าง เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก ดังนั้นการหาความชื้นโดยไม่ทำลายตัวอย่างด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มแสงอินฟราเรดย่านใกล้จึงมีความจำเป็นในการควบคุมคุณภาพ วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อหาความชื้นโดยไม่ทำลายตัวอย่างด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มแสงอินฟราเรดย่านใกล้ร่วมกับหัววัดไฟเบอร์ออพติก ในการวิจัยยาสมุนไพรจันทร์ลีลาชนิดผงถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม เท่าๆ กัน นำไปอบในตู้อบแห้งอุณหภูมิ 45 degree Celsius เวลา 0 60 120 และ 180 นาที หลังอบแต่ละกลุ่มจะถูกแบ่งเก็บในถุงพลาสติกปิดสนิทถุงละประมาณ 100 กรัม จำนวน 25 ถุง จะได้ตัวอย่างรวม 100 ตัวอย่างและเก็บในห้องอุณหภูมิ 25 degree Celsius ไม่น้อยกว่า 12 ชม. ตัวอย่างถูกสแกนด้วยเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ คลื่นแสงอินฟราเรดย่านใกล้แบบฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มด้วยเทคนิคจานแก้วหมุนและหัววัดไฟเบอร์ออพติกในช่วงจำนวนคลื่นแสง 10000-4000 cm-1 แบบการสะท้อนคลื่นแสง ด้วยความละเอียด 16 cm-1 จำนวน 32 ครั้งต่อสเปกตรัม หาความชื้นของตัวอย่างโดยวิธีการอบแห้งตัวอย่าง 80 ตัวอย่าง ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มคาลิเบรชั่นและวาลิเดชั่นโดยวิธีเลขคู่เลขคี่ และอีก 20 ตัวอย่างเป็นกลุ่มพรีดิกชั่น และใช้โปรแกรมอันสแครมเบลอร์ในการวิเคราะห์การถดถอยแบบพาร์เชียลลีส์ทสแควร์ (PLS) และสร้างสมการคาลิเบรชั่น ผลการวิจัยพบว่า ช่วงจำนวนคลื่นแสง 7000-4000 cm-1 เป็นช่วงที่เหมาะสม โดยการปรับแต่งสเปกตรัมควรใช้วิธีเดริเวทีฟลำดับที่สอง พบว่า ค่า r และ SEC ของตัวอย่างที่สแกนด้วยเทคนิคจานแก้วหมุน และหัววัดไฟเบอร์ออพติก คือ 0.94 0.14% และ 0.78 0.34% โดยค่า SEP และ Bias ของการทำนายค่าความชื้นมีค่า 0.36% 0.00% และ 0.42% 0.06% ตามลำดับ ดังนั้นจึงสามารถประยุกต์ใช้คลื่นแสงอินฟราเรดย่านใกล้แบบฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มด้วยเทคนิคจานแก้วหมุนในการทำนายค่าความชื้นยาสมุนไพรชนิดผงได้อย่างดีถูกต้องเพียงพอ รวดเร็ว และไม่ทำลายตัวอย่าง แต่อาจต้องพัฒนาวิธีการวัดโดยหัววัดไฟเบอร์ออพติก |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1844 |
Appears in Collections: | ประชุมวิชาการ (Proceedings - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TPT-13 p660-665.pdf | การใช้คลื่นแสงอินฟราเรดย่านใกล้แบบฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มและหัววัดไฟเบอร์ออพติกทำนายค่าความชื้นสมุนไพรชนิดผง (จันทร์ลีลา) | 768.66 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.