Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1849
Title: | การศึกษาสมบัติเชิงกลและสมบัติทางกายภาพในการตรวจสอบความแตกต่างทางสรีรวิทยาของขิง |
Authors: | ศสิมา ตรีแก้ว อนุพันธ์ เทอดวงศ์วรกุล วิชา หมั่นทำการ |
Keywords: | ขิง สมบัติทางกล ความชื้น ความถ่วงจำเพาะ สี อายุเก็บเกี่ยว |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Faculty of Engineering |
Abstract: | ขิงอ่อนเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตขิงดองส่งออก การคัดแยกขิงอายุปานกลางที่มีสีและลักษณะภายนอกใกล้เคียงขิงอ่อน เป็นกระบวนการสำคัญในการผลิต งานวิจัยนี้ศึกษาสมบัติทางกลและกายภาพที่เหมาะสมที่สามารถนำมาจำแนกขิงอ่อนและขิงอายุปานกลาง โดยนำขิงพันธุ์หยวกอายุอ่อน (4-6 เดือน) และปานกลาง (7-9 เดือน) มาวัดค่าและวิเคราะห์จากความสัมพันธ์ระหว่างแรงกดและระยะยุบตัว ความชื้นและความถ่วงจำเพาะ จากการศึกษาพบว่า ขิงอายุ 4-6 เดือน มีค่าสมบัติทางกลและความถ่วงจำเพาะแตกต่างจากขิงอายุ 7-9 เดือนอย่างมีนัยสำคัญ (ระดับความเชื่อมั่น 95%) เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างแง่งขิงภายในเหง้าที่อายุเดียวกัน พบว่า สำหรับขิงอายุ 4-6 เดือน ค่าสมบัติทางกลและกายภาพไม่มีความแตกต่างระหว่างแง่งลูกที่ 1 และที่ 2 อย่างไรก็ตามสำหรับขิงอายุ 7-9 เดือนมีความแตกต่างระหว่างแง่งลูกที่ 1, 2, 3 และ 4 ในค่าสมบัติทางกล แต่ค่าความชื้นและความถ่วงจำเพาะไม่แตกต่างกัน เมื่อนำขิงที่มีสีและลักษณะภายนอกใกล้เคียงกันทั้งสองอายุมาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม และวิเคราะห์ทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบขิงที่มีสีและลักษณะภายนอกใกล้เคียงกันที่มีอายุต่างกันพบว่า ขิงที่มีอายุต่างกันจะมีสมบัติทางกลที่แตกต่างกันถึงแม้ว่าจะมีสีและลักษณะภายนอกเหมือนกันก็ตามทั้งในกลุ่มสีอ่อนและสีเข้ม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสมบัติทางกลเป็นสมบัติที่เหมาะสมในการใช้ตรวจสอบความแตกต่างทางสรีรวิทยาของขิงในด้านอายุและความแตกต่างภายในเหง้า |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1849 |
Appears in Collections: | ประชุมวิชาการ (Proceedings - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TPT-21 p691-697.pdf | การศึกษาสมบัติเชิงกลและสมบัติทางกายภาพในการตรวจสอบความแตกต่างทางสรีรวิทยาของขิง | 732.43 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.