Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1943
Title: พฤติกรรมการใช้ระบบสารสนเทศทางอินทราเน็ตที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรบุคคล: กรณีศึกษา บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)
Other Titles: Intranet system usage behavior that affected human resource management efficiency of Sansiri Public Company Limited
Authors: อุไร คำภาสอน
Keywords: อินทราเน็ต
พฤติกรรมการใช้ระบบอินทราเน็ต
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
Abstract: การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ระบบสารสนเทศทางอินทราเน็ตที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัทแสนสิริจากัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานบริษัท แสนสิริ จากัด (มหาชน) จานวน 350 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Independent Samples t-test และ One-way ANOVA ในกรณีที่พบว่ามีความแตกต่างจะใช้การทดสอบรายคู่โดยวิธี Least Significant Difference (LSD) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 31-35 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งพนักงานทั่วไป มีอายุงาน 1-3 ปี ด้านพฤติกรรมการใช้ระบบอินทราเน็ต พบว่ามีความถี่ในการใช้ระบบอินทราเน็ต 5-6 วัน/สัปดาห์ระยะเวลาที่ใช้งานระบบสารสนเทศทางอินทราเน็ตในแต่ละครั้ง 31 นาทีขึ้นไป ช่วงเวลาที่เข้าใช้ระบบสารสนเทศทางอินทราเน็ต คือ ช่วงทำงาน ลักษณะการใช้งานเพื่อเป็นข้อมูลในการทำงาน กิจกรรมที่เข้าไปใช้มากที่สุด คือ การรับหรือ ส่งอีเมล์ กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างเข้าไปทำเกี่ยวกับตัวเองมากที่สุด คือ การขอค่าล่วงเวลา ข่าวที่กลุ่มตัวอย่างเข้าไปอ่านมากที่สุด คือ ข่าวประชาสัมพันธ์ภายใน และสาเหตุที่กลุ่มตัวอย่างเข้าไปใช้เว็บบอร์ดมากที่สุดคือเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มพนักงาน และการทดสอบสมมติฐานพบว่าเพศมีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการเพิ่มศักยภาพแตกต่างกันอายุมีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการประหยัดเวลา ด้านการเพิ่มศักยภาพ และด้านภาพรวมแตกต่างกันระดับการศึกษาและตำแหน่งมีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการประหยัดเวลาแตกต่างกัน
The independent study was conducted to investigate the intranet system usage behavior that affected the human resource management efficiency of Sansiri Public Company Limited. The sample of the study comprised 350 employees of Sansiri Public Company Limited. The data were gathered through the application of questionnaire, and were analyzed using Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Independent Samples t-test, One-way ANOVA, and Least Significant Difference (LSD) at 0.05 level of significance. The results of the study revealed that the majority of the respondents were female, aged between 31-35 years old, graduated with Bachelor’s degree, held the position as general staff, had 1-3 years of work experience. Concerning the intranet system usage behavior, it was found that the intranet was used 5-6 days/week, the respondents spent more than 31 minutes at each time, used the intranet during working hours to search information on their work, used the intranet for receiving and sending e-mails, the common personal use was to inquire for overtime payment, the most popular views were the company’s internal announcement, and the reason to browse the webboard was to follow the movement of the colleagues. The results of hypothesis testing showed that gender had different effects on the efficiency of human resource management in the aspect of increasing potential. Age had different effects on the efficiency of human resource management in the aspects of time saving, increasing potential, performance effectiveness and overall image, and level of educationhad different effects on the efficiency of human resource management in the aspect of time saving.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1943
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
139350.pdfพฤติกรรมการใช้ระบบสารสนเทศทางอินทราเน็ตที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรบุคคล: กรณีศึกษา บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)5.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.