Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2074
Title: จิตรกรรมค่าต่างแสงกับความรู้สึกสงบแบบเหนือจริงเนื้อหาวัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนา
Other Titles: Chiaroscuro and Serenity Within Surrealistic Painting in The Subject Matter of Buddhism Ritual Object
Authors: ณัฐ ล้ำเลิศ
Keywords: ค่าต่างแสง
จิตรกรรมเหนือจริง
วัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนา
ความรู้สึกสงบ
Chiaroscuro
Surrealistic Painting
Buddhism Ritual Object
Serenity
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. สาขาศิลปกรรม
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่าต่างแสงในงานจิตรกรรมกับความรู้สึกสงบ 2) ศึกษาความเหนือจริงในงานจิตรกรรม และ 3) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมค่าต่างแสงกับความรู้สึกสงบแบบเหนือจริงเนื้อหาวัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนาด้วยกลวิธีระบายสีน้ำมันบนผ้าใบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ จำนวน 3 ท่าน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ภาพจิตรกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 4 ชิ้น เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ โดยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์ (Delphi Applied Technique) 1. ค่าต่างแสงในงานจิตรกรรมที่ให้ความรู้สึกสงบ แสงต้องเป็นแสงที่นุ่มนวลไม่จัดเกินไป ให้เป็นแสงที่มาจากแสงเทียน เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศให้เกิดความรู้สึกสงบ และมีศรัทธาในพุทธศาสนา อันเป็นสัญลักษณ์ในเรื่องของความดีงาม ปัญญา หรือทางออกแห่งปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ปริมาณของแสงให้มีพื้นที่น้อยกว่าพื้นที่ที่เป็นความมืด และจัดแสงให้อยู่ในจุดเดียวกันเพื่อลดความรู้สึกเคลื่อนไหว โดยการไล่น้ำหนักของแสงจากอ่อนไปสู่แก่ เพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความกลมกลืนของน้ำหนัก 2. ความเหนือจริงในงานจิตรกรรม สามารถสร้างขึ้นได้โดยการจัดวางวัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนาให้อยู่ท่ามกลางบรรยากาศและเรื่องราวที่จินตนาการขึ้นมา คือ ให้ลอยอยู่บนน้ำหรือสร้างเป็นภาพลวงตา เปลี่ยนขนาดของรูปทรงวัตถุที่มีขนาดเล็กทำให้ใหญ่ขึ้น และวัตถุใหญ่ดูเล็กลง อีกทั้งใช้วิธีสร้างภาพสะท้อนบนผิวของวัตถุที่มันวาว เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา 3. การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมค่าต่างแสงกับความรู้สึกสงบแบบเหนือจริงเนื้อหาวัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนา ด้วยกลวิธีสีน้ำมันบนผ้าใบใช้วิธีการรองพื้นด้วยสีน้ำมันและระบายสีจากแก่ไปอ่อน และใช้กลวิธีระบายเรียบโดยไม่ให้เกิดรอยฝีแปรง เพื่อให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวล การใช้เส้นให้ใช้เส้นตรงและเส้นโค้งเป็นโครงสร้างหลักเพื่อให้เกิดความรู้สึกสงบ นิ่ง และไม่ให้ตัดเส้นรอบนอกรูปทรง ใช้วิธีการสร้างรูปทรงเปิดเข้าสู่พื้นหลัง เพื่อให้เกิดการประสานกลมกลืนระหว่างรูปกับพื้น การจัดภาพวัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนาให้ใช้มุมมองหลายระดับคือ ระดับสายตา ระดับต่ำกว่าสายตา และระดับสูงกว่าสายตา
The purposes of this research were 1) to study chiaroscuro in the painting and serenity 2) to study the surreal aspects in paintings and 3) to create the Chiaroscuro and Serenity within Surrealistic Painting in the Subject Matter of Buddhism Ritual Object in oil on canvas. The simples included three art specialists using purposive sampling random. The study tools are four pieces of paintings created by the researcher. Data were collected from art specialists and academicians by using Delphi Applied Technique. The findings revealed as follows: 1. Chiaroscuro in painting with serenity feeling should be gentle light as candle light. This could create serene atmosphere and religious faith that were the symbol of virtue, intellect and dilemma. The quality of light was less than the dark area. Lighting must be in the same spot in order to decrease the feeling of movement. by shading from light to dark in order to decrease the contrast and create harmony. 2. Surrealistic aspects in paintings was made by arranging the sacred object within the atmosphere and imaginative subject matter, as floating on water, making the illusion, changing the size of objects or creating reflective picture on shiny object surface. 3. Creating Chiaroscuro and Serenity within Surrealistic Painting in the Subject Matter of Buddhism Ritual Object in oil on canvas. The procedure was painting with oil color and painted from dark to light. Moreover flat coloring without brush stroke to create softness. The straight lines and curves were used as the main structure in order to create the serenity, and to make the outline of the figures was prohibited. Opening figure into background helped created harmony between figure and ground. The composition of the figure should emphasize by different eye’s level which included human’s eyes view, worm’s eyes view and bird’s eyes view.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2074
Appears in Collections:บทความ (Article - FA)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. 25....pdfจิตรกรรมค่าต่างแสงกับความรู้สึกสงบแบบเหนือจริงเนื้อหาวัตถุในพิธีกรรมพุทธศาสนา190.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.