Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2094
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พิพัฒน์ โกวิทคณิต | |
dc.date.accessioned | 2015-01-21T02:04:32Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T07:36:24Z | - |
dc.date.available | 2015-01-21T02:04:32Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T07:36:24Z | - |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.issn | 1905-8446 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2094 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสัมฤทธิผลในการใช้นโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางที่มีประสิทธิผลของการนำนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ขอบเขตของการศึกษา มีขอบเขตการศึกษาครอบคลุมพื้นที่กลุ่มเป้าหมายในจังหวัดกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งได้แก่ จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการศึกษา ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐบาลที่เป็นเจ้าของนโยบาย กำกับดูแลและคอยสนับสนุนผู้บริหารจากภาคสถาบันการเงิน ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้บริหารของบริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำภายในประเทศ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์จึงนำระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมาใช้ในการศึกษาวิจัย ทั้งนี้ได้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพเป็นส่วนหลัก และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นส่วนสนับสนุนเพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากแปดข้อมูลหลักที่เลือกแบบเจาะจง จากสี่กลุ่มที่เป็นกลุ่มผู้บริหารระดับสูงในแต่ละกลุ่ม เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้ทราบและเข้าใจถึงลักษณะทั่วไป การวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ทีมี่ผลต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย การวิเคราะห์ศักยภาพของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ รวมทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดสัมฤทธิผลของการใช้นโยบายในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ การวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย ผู้เกี่ยวข้องกับประกอบการ SME ด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทราบถึงนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ด้านอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ผู้วิจัยได้พัฒนาตัวแบบการบูรณาการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติขึ้นมา โดยอาศัยผลจากการศึกษาวิจัย ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 6 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การบริหารการตลาด 2) การแข่งขันในอุตสาหกรรม 3) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน 4) อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและสนับสนุน 5) คุณลักษณะผู้ประกอบการ 6) นโยบายรัฐบาลที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสัมฤทธิผลในการใช้นโยบายในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ดังนั้น รัฐบาลควรต้องตระหนักถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างศักยภาพและความพร้อม โดยการสนับสนุน ช่วยเหลือ และส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ให้ยั่งยืนตลอดไป | en_US |
dc.description.abstract | The objectives of the research were: 1) to study the achievement of government policies to promote small and medium enterprises in computer software industry, 2) to study the potential of small and medium enterprises in computer software industry, and 3) to develop the effectiveness of government policies to maximize the benefits towards small and medium enterprises. The area of study focused mainly on computer software companies located in Bangkok Metropolitan, Nakornpathom, Nonthaburi, Patumthani, Samutprakarn, and Samutsakorn. The samples of the study were divided into four groups by using simple random sampling technique from the top administrative level, executives of government officers related to computer software industry, executives of the banks and finances and a group of experts and executives of enterprises in the computer software industry. To accomplish the research objectives, mixed methodology research techniques were adopted: the qualitative technique focusing on in-depth interview was verified by eight computer software experts and the quantitative research method which was adopted to validate the findings. The results found that there were six main factors affecting the Achievement of Government Policies to Promote Small and Medium Enterprises (SME) in Computer Software Industry mainly 1) marketing perspectives 2) the competitiveness of rivalries 3) the strategies of competitors 4) related and supporting industries 5) characteristics of entrepreneurs, and 6) government policies having direct effects on SMEs in the computer software industry. The new competitive and effective model was created, based on the findings and outcomes of this research, to encourage the small and medium enterprises in the computer software industry. | |
dc.language.iso | Thai | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการ | en_US |
dc.subject | สัมฤทธิผล | en_US |
dc.subject | นโยบาย | en_US |
dc.subject | การส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง (SME) | en_US |
dc.subject | อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ | en_US |
dc.subject | achievement | en_US |
dc.subject | Government policies | en_US |
dc.subject | promote small and medium enterprises (SME) | en_US |
dc.subject | computer software industry | en_US |
dc.title | สัมฤทธิผลในการใช้นโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง (SME) ด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ | en_US |
dc.title.alternative | An Achievement of Government Policies to Promote Small and Medium Enterprises (SME) in Computer Software Industry | en_US |
dc.type | Article | en_US |
Appears in Collections: | บทความ (Article - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
วารสาร Global Business and Economics Review ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2557 ....pdf | สัมฤทธิผลในการใช้นโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง (SME) ด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ | 902.56 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.