Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/230
Title: โครงการเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวอินทรีย์และข้าวใช้สารเคมีของเกษตรกรในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Comparison of Cost and Return between Organic Rice and Chemical Rice Planting in Amphoe Lumlukka pathumtani Province
Authors: จุฑาทิพย์ สองเมือง
สุทธิ ชัยพฤกษ์
สัญจิตา อรชุนเลิศไมตรี
Keywords: ผลิตผลเกษตร -- หัวเศรษฐกิจ -- วิจัย
ข้าวอินทรีย์ -- การปลูก
การปลูกข้าว
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.คณะบริหารธุรกิจ
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนและเปรียมเทียบจุดคุ้มทุนในการผลิตข้าวอินทรีย์และการผลิตข้าวใช้สารเคมีของเกษตรกร ในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ปีการเพาะปลูก 2551 โดยการเก็บรวบรวมด้วยวิธีการสัมภาษณ์เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 30 ราย แบ่งเป็นเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์จำนวน 15 ราย และเกษตรที่ผลิตข้าวใช้สารเคมี จำนวน 15 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า การผลิตข้าวอินทรีย์มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 3,718.10 บาท รายได้ทั้งหมดเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 8,350.20 บาท ทำให้การผลิตข้าวอินทรีรย์มีกำไรสุทธิเฉลี่ยไร่ละ 4,631.90 บาท และมีรายได้สุทธิเฉลี่ยไร่ละ 5,738.76 บาท เมื่อพิจารณาผลตอบแทนจากการลงทุนเหนือต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสดพบว่า เกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์มีรายได้สุทธิเหนือต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินเฉลี่ยไร่ละ 5,993.10 บาท และการศึกจุดคุ้มของเกษตรกรของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์พบว่า มีระดับผลผลิตคุ้มทุนเฉลี่ยไร่ละ 146.99 กิโลกรัม และระดับราคาคุ้มทุนเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.88 บาท สำหรับเกษตรที่ผลิตข้าวใช้สารเคมีพบว่า การผลิตข้าวใช้สารเคมีมีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 4,534.08 บาท รายได้ทั้งหมดเฉลี่ยต่อไรเท่ากับ 9,710.52 บาท ซึ่งทำให้การผลิตข้าวใช้สารเคมีกำไรสุทธิเฉลี่ยไร่ละ 5,176.44 บาท และมีรายได้สุทธิเฉลี่ยไร่ละ 6,088.67 บาท เมื่อพิจารณาผลตอบแทนจากการลงทุนเหนือต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสด การผลิตข้าวใช้สารเคมีจะมีรายได้สุทธิเหนือต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสดเฉลี่ยไร่ละ 6,180.02 บาท และการศึกษาจุดคุ้มทุนของการผลิตข้าวใช้สารเคมี พบว่ามีระดับผลผลิตคุ้มทุนเฉลี่ยไร่ละ 133.56 กิโลกรัมและมีระดับราคาคุ้มทุนเฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.09 บาท จากผลการศึกษาดังกล่าวสารมารถสรุปได้ว่า การผลิตเกษตรกรผู้ผลิตข้าวใช้สารเคมีได้ผลผลิตต่อไรสูงกว่าข้าวอินทรีย์ แต่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเกษตรกรผู้ผลิตข้าวใช้สารเคมี
The objectives of this study were to study and compare cost, return and break-even point between organic rice and chemical rice planting in Amphoe lumlukka Pathumtani in crop year of 2008. The Primary data were collected by interviewing 30 farmers, 15 farmers of organic rice and 15 farmers of chemical rice. Interviewed by using closed and opened and questionnaire and then used descriptive statistics such as percentage and mean for analysis. The results of study found that total average cost per rai of organic rice planting was bath and total average revenue per rai was 3,718.10 bath. That caused the net profit per rai was 8,350.20 baht. The net revenue per rai was 5,738.10 bath. The yield break-even point per rai 146.99 kilograms and price break-even point per kilograms was 4.88 baht. For the farmer of chemical rice planting, the total cost per rai was 4,534.08 baht, The total average revenue per rai was 9,710.52 baht. Thus, net profit per rai was 5,176.44 baht, The net revenue per rai 6,088.67 baht. However, the difference of net revenue and variable cash cost per rai was 6,180.02 baht. The yield break-even point per rai was 133.56 kilograms. The price break-even point per kilograms was 5.09 baht. In conclusion, chemical rice planting provide higher revenue than organic rice planting but organic rice planting provide lower cost than chemical rice planting
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/230
Appears in Collections:วิจัย (Research - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
โครงการเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวอินทรีย์และข้าวใช้สารเคมีของเกษตร....pdfโครงการเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวอินทรีย์และข้าวใช้สารเคมีของเกษตรกรในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี2.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.