Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2568
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ธัญลักษณ์ จงมี | |
dc.date.accessioned | 2015-11-09T12:16:55Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T06:38:27Z | - |
dc.date.available | 2015-11-09T12:16:55Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T06:38:27Z | - |
dc.date.issued | 2553 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2568 | - |
dc.description | วพ TS 1540 ธ469ก 2553 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ทำการศึกษาสมบัติของเศษเส้นใยจากขนสัตว์ ฝ้าย และรังไหม สมบัติการไหลผ่านของอากาศในผ้า สมบัติการนำความร้อนของเศษเส้นใยทั้งสามชนิดที่ได้จากเศษขนสัตว์จากการทำพรม เศษเส้นใยฝ้ายจากเครื่องสาง และเศษใยไหมที่เหลือติดรังไหมในส่วนที่ไม่สามารถสาวได้แล้ว ดำเนินการทดสอบภาคตัดตามขวาง ภาคตัดตามยาวของเศษเส้นใยผ่านกล้องจุลทรรศน์ วัดความยาวเส้นใย จัดทำชิ้นทดสอบโดยการตัดผ้าป่านขนาด 10×10 ตารางเซนติเมตร เย็บเว้นระยะห่างช่องละ 1 เซนติเมตร จำนวน 10 ช่อง บรรจุเส้นใยให้ครบทุกช่อง ชั่งน้ำหนัก ทดสอบภาคตัดตามขวาง และภาคตัดตามยาวของชิ้นทดสอบ ทดสอบสมบัติการไหลผ่านของอากาศในผ้า และสมบัติการนำความร้อน จากผลการทดสอบพบว่า ภาคตัดตามขวางและภาคตัดตามยาวของเส้นใยมีลักษณะดังนี้ เศษเส้นใยขนสัตว์ มีลักษณะกลม มีช่องว่างกระจายรอบๆ เส้นใยมีความหยิกงอและซ้อนกันเป็นชั้น เส้นใยฝ้ายมีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว มีช่องว่างกลางเส้นใย เส้นใยบิดเป็นเกลียวคล้ายริบบิ้น เส้นใยไหมมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมมีช่องว่างรอบๆเส้นใยเช่นกัน ความยาวของเศษเส้นใยขนสัตว์และเศษเส้นใยฝ้ายพบว่าเศษเส้นใยขนสัตว์มีความยาวเฉลี่ย 0.5 เซนติเมตร เส้นใยฝ้ายมีความยาวเฉลี่ย 1.6 เซนติเมตร เศษเส้นใยขนสัตว์สั้นและมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยใหญ่กว่าเศษเส้นใยฝ้าย และจากผลการทดสอบภาคตัดตามขวางและภาคตัดตามยาวของชิ้นทดสอบ พบว่าเส้นใยที่บรรจุในชิ้นทดสอบมีการเรียงตัวแบบไม่เป็นระเบียบ และจากผลการทดสอบการไหลผ่านของอากาศของเศษเส้นใย พบว่าความหนาแน่นมีผลต่อการยอมให้อากาศไหลผ่านในขณะที่ชิ้นทดสอบจากเศษรังไหมมีการนำความร้อนดีที่สุด รองลงมาคือชิ้นทดสอบจากเศษเส้นใยฝ้าย และเศษเส้นใยขนสัตว์ เมื่อแปลงค่าการนำความร้อนเป็นค่าการต้านทานความร้อน พบว่าชิ้นทดลองมีสมบัติในการต้านทานความร้อนดีที่สุด คือ ชิ้นทดสอบที่บรรจุเศษเส้นใยขนสัตว์ รองลงมาคือชิ้นทดสอบที่บรรจุเศษเส้นใยฝ้าย และรังไหมตามลำดับ | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสสตร์,สาขาวิศวกรรมสิ่งทอ | en_US |
dc.subject | เส้นใย | en_US |
dc.subject | เส้นใย -- การนำความร้อน | en_US |
dc.subject | เส้นใยธรรมชาติ | en_US |
dc.title | การนำเศษเส้นใยธรรมชาติกลับมาใช้เป็นฉนวนกันความร้อน | en_US |
dc.title.alternative | Reuse of disposed natural fibers as heat insulator | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-143241.pdf | การนำเศษเส้นใยธรรมชาติกลับมาใช้เป็นฉนวนกันความร้อน | 6.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.