Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2641
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและพฤติกรรมการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งอันดามันของประเทศไทย กรณีเปรียบเทียบนักท่องเที่ยวอเมริกันและยุโรป |
Other Titles: | The relationships among factors and tourism behavior in southern Andaman coast of Thailand : A comparison between Americans and Europeans |
Authors: | เธียรคริษฐ์ สอนประสม |
Keywords: | นักท่องเที่ยว -- พฤติกรรม |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางการตลาด ของการท่องเที่ยว และ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ของการท่องเที่ยว ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งอันดามันของชาวอเมริกันและชาวยุโรป โดยกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันและชาวยุโรป ที่มาท่องเที่ยวในภาคใต้ฝั่งอันดามันของประเทศไทย ในช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ .ศ. 2556 โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล จำนวน 400 ชุด ณ จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง และตรัง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ สมมติฐาน ด้วยสถิติ Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Chi-Square Test, Correlation และ Multiple Regression ที่ระดับนัยสำ คัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อปี และถิ่นที่อยู่อาศัย ปัจจัยทางการตลาดของการท่องเที่ยว ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการและด้านลักษณะทางกายภาพ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกของการท่องเที่ยว ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีด้านฤดูกาล และด้านธรรมชาติ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งอันดามันของชาวอเมริกันและชาวยุโรป และผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยทางการตลาดของการท่องเที่ยว ได้แก่ ด้านช่องทางการจัดจา หน่าย ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ และด้านกระบวนการให้บริการปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกของการท่องเที่ยว ได้แก่ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี และด้านธรรมชาติ มีอิทธิพลกับพฤติกรรมในการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งอันดามัน ของชาวอเมริกันและชาวยุโรป This research was carried out to investigate the relationships of the personal factors, the marketing factors of tourism, and the external environment factors of tourism that had influences on tourism behavior of Americans and Europeans in the Southern Andaman Coast. The questionnaire was used as the tool for collecting data from 400 American and European tourists visiting the Southern Andaman Coast in Krabi, Phang Nga, Phuket, Ranong and Trang during October to December B.E.2556. The statistics used for data analysis comprised Frequency, Percentage, Arithmetic Mean, Standard Deviation Independent Samples t-test, One-way ANOVA, Chi-Square Test, Correlation and Multiple Regression at 0.05 level of significance. The results of hypothesis testing showed that the tourists’ personal factors on gender, age, marital status, level of education, occupation, annual income and domicile; together with the marketing factors of tourism in the aspects of product, promotion, people, process and physical evidence and the external environment factors of tourism in the aspects of technology, seasons and natural environment had relationships with the tourism behavior of Americans and Europeans in the Southern Andaman Coast. The output of regression analysis showed that the marketing factors of tourism in the aspects of place, people and process; as well as the external environment factors of tourism in the aspects of socio - cultural, technological, and natural environment had influences on the tourism behavior of Americans and Europeans in the Southern Andaman Coast. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2641 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-147706.pdf | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและพฤติกรรมการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งอันดามันของประเทศไทย กรณีเปรียบเทียบนักท่องเที่ยวอเมริกันและยุโรป | 17.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.