Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2829
Title: กลยุทธ์การจัดการธุรกิจรักษาความปลอดภัยตามแนวพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย
Other Titles: Strategic management of security businesses conforming to the security business act
Authors: ใกล้รุ่ง ระเบียบโอษฐ์
Keywords: การจัดการธุรกิจ
ธุรกิจรักษาความปลอดภัย
กลยุทธ์การจัดการ
ประสิทธิภาพการทำงาน
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกการจัดการทั่วไป.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่จะส่งผลกระทบอันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัยและปัจจัยที่ได้รับผลกระทบ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่จะส่งผลกระทบกับปัจจัยที่ได้รับผลกระทบ 3) ศึกษาปัจจัยด้านการรักษามาตรฐาน ด้านการประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐ ด้านการฝึกอบรมพนักงาน ที่ส่งผลต่อปัจจัยด้านต้นทุนและปัจจัยด้านกระบวนการบริหารงาน และส่งผลต่อกลยุทธ์การจัดการด้านประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารและผู้จัดการของบริษัทที่ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อ พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย และวิเคราะห์ข้อมูลการส่งผลต่อกันของตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติ Structural Equation Modeling (SEM) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบกับปัจจัยที่ได้รับผลกระทบ ความคิดเห็นของ กลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับเห็นด้วย แต่กลยุทธ์การจัดการด้านประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับไม่แน่ใจ และพบว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปรที่จะส่งผลกระทบกับตัวแปรที่จะได้รับผลกระทบ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบด้านการรักษามาตรฐาน (RR1) กับด้านการฝึกอบรมพนักงาน (RR3) มีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านต้นทุน (SS1) และยังทำให้ด้านต้นทุน (SS1) มีอิทธิพลต่อด้านกระบวนการบริหารงาน (SS2) ในขณะที่ปัจจัยด้านกระบวนการบริหารงาน (SS2) ยังส่งผลต่อไปยังกลยุทธ์การจัดการด้านประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน (T) แสดงให้เห็นว่าแม้ด้านต้นทุน (SS1) จะไม่มีผลโดยตรงต่อกลยุทธ์การจัดการด้านประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน (T) แต่ยังคงมีผลทางอ้อมผ่านทางด้านกระบวนการบริหารงาน (SS2)
The purposes of this study were: 1) to study the factors and possible factors affecting the Security Business Act; 2) to study the relationship between all the factors which would be affected and the factors which had been affected; and 3) to investigate the factors involved in maintaining standards within the government sector on staff training, which affected the costs and administrative processes in addition to having an impact on the strategic management of the security staff performance. The subjects used were 100 owners or CEOs of companies engaged in the security business in Bangkok and its Metropolitan Area. The tool used in this research was a questionnaire that asked for opinions on the Security Business Act. Structural Equation Modeling (SEM) was applied to analyze the quantitative data. The results revealed that there was an agreement in the factors which had been affected and which would be affected. However, the opinions on the strategic management of the staff performance factors were at the not certain level. It was also found that there was a relationship amongst the factors which had been affected. The factors involved in maintaining the standard (RR1) and staff training (RR3) had an influence on the cost factor (SS1), and the cost factor (SS1) had an influence on the administration process factor (SS2). The administrative process factor (SS2) contributed to the strategic management of the security staff performance (T), which showed that, despite no direct influence from the cost factor (SS1), it had an indirect influence on the strategic management of the security staff performance (T) through the administration process factor (SS2).
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2829
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-151528.pdfStrategic management of security businesses conforming to the security business act3.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.