Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2853
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนวพร ชิณวงค์
dc.date.accessioned2017-05-23T08:35:53Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:20:02Z-
dc.date.available2017-05-23T08:35:53Z
dc.date.available2020-09-24T04:20:02Z-
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2853-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับของความขัดแย้งภายในองค์กร ด้านงาน ด้านความสัมพันธ์ และด้านกระบวนการทำงานของพนักงานที่ทำงานในธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (2) เพื่อเปรียบเทียบความขัดแย้งภายในองค์กรด้านงาน ด้านความสัมพันธ์ และกระบวนการทำงาน (3) เพื่อศึกษาระดับของการรับรู้ความเครียดที่เกิดจากการทำงานของพนักงานที่ทำงานอยู่ในธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (4) เพื่อเปรียบเทียบระดับของการรับรู้ความเครียดที่เกิดจากการทำงาน (5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งภายในองค์กรด้านงาน ด้านความสัมพันธ์ และด้านกระบวนการทำงานที่มีต่อการรับรู้ความเครียดที่เกิดจากการทำงานของพนักงานที่ทำงานอยู่ในธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเครียดที่เกิดจากการทำงานกับผลกระทบที่เกิดจากความเครียดที่มีต่อพนักงานทั้งทางด้านร่างกายด้านจิตใจ และด้านพฤติกรรมของพนักงานที่ทำงานในธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 185 คน และพนักงานในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (F-test) และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามพนักงานในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-35 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป และมีรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามพนักงานในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-35 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี และระหว่าง 2-5 ปี และมีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลทางด้านระดับรายได้ และประเภทธุรกิจที่แตกต่างกันของพนักงานมีผลต่อระดับความขัดแย้งด้านงานแตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุระดับการศึกษา ระดับรายได้ ประสบการณ์ทำงาน และประเภทธุรกิจที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์แตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับรายได้ ประสบการณ์ทำงาน และประเภทธุรกิจที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความขัดแย้งด้านกระบวนการ สำหรับการรับรู้ความเครียดในการทำงาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับรายได้ที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับการรับรู้ความเครียดที่เกิดจากการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าความขัดแย้งด้านงาน (r = 0.429) ด้านความสัมพันธ์ (r = 0.434) และด้านกระบวนการ (r = 0.500) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการรับรู้ความเครียดในการทำงาน โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ทั้งสามด้าน และสำหรับการรับรู้ความเครียดของพนักงาน พบว่า มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับผลกระทบจากความเครียดทางด้านร่างกาย (r = 0.511) ทางด้านจิตใจ (r = 0.632) และทางด้านพฤติกรรม (r = 0.544) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติen_US
dc.description.abstractThe study was carried out (1) to examine the level of organizational conflicts in task, relationship and work process of the operational employees working in the real estate business and the retail business, (2) to compare the organizational conflicts in task, relationship and work process, (3) to investigate the level of perception of stress at work of the employees working in the real estate business and the retail business, (4) to compare the level of perception of stress at work, (5) to look into the relationship of organizational conflicts in task, relationship and work process that affected the perception of stress at work of the employees working in the real estate business and the retail business, and (6) to inspect the relationship between perception of stress at work and the effects arising from stress on physical, mental and behavioral aspects of the employees working in the real estate business and the retail business. The sample used in the study consisted of 185 employees working in the real estate business and 200 employees working in the retail business. The data were gathered a questionnaire and were analyzed using Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test, F-test, and Pearson Correlation Coefficient with a significant level of 0.05. The results of the study indicated that majority of the employees working in the real estate business were female, aged between 26-35 years old, graduated with Bachelor’s degree, had more than 10 years of work experience, and earned a monthly income of 15,001-20,000 Baht. On the other hand, it was found that most of the employees working in the retail business were female, aged between 26-35 years old, graduated with Bachelor’s degree, had more than 10 years of work experience and between 2-5 years, and earned a monthly income of less than 15,000 Baht. The results of hypothesis testing showed that different personal factors on level of income and type of business had effects on the differences on the levels of the task conflict, while different personal factors on age, level of education, level of income, work experience, and type of business had effects on the differences on the levels of the relationship conflict, and different personal factors on level of income, work experience, and type of business had effects on the differences on the levels of the process conflict. Concerning the perception of stress at work, the study showed that different personal factors on level of income had effects on the differences on the level of perception of stress at work of the operational employees. Moreover, it was found that the task conflict (r = 0.429), the relationship conflict (r = 0.434), and the process conflict (r = 0.500) had a positive relationship with the perception of stress at work at a moderate level, and the perception of stress at work of the employees demonstrated a statistically significant positive relationship with the physical effect (r = 0.511), the mental effect (r = 0.632) and the behavioral effect (r = 0.544).en_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกการจัดการทั่วไปen_US
dc.subjectความขัดแย้งด้านงานen_US
dc.subjectความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์en_US
dc.subjectความขัดแย้งในองค์กรen_US
dc.titleความขัดแย้งในองค์กร ด้านงาน ด้านความสัมพันธ์ และด้านกระบวนการที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความเครียดในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการเปรียบเทียบระหว่างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกen_US
dc.title.alternativeOrganizational conflicts in task, relationship and work process related with perception of stress at work of operational employees working in real estate business and retail businessen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-151699.pdfความขัดแย้งในองค์กร ด้านงาน ด้านความสัมพันธ์ และด้านกระบวนการที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความเครียดในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการเปรียบเทียบระหว่างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีก3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.