Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2854
Title: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในอุตสาหกรรมกระเบื้องปูพื้น
Other Titles: Marketing mix factors related to consumers behavior in the floor tiles industry
Authors: สุรพงศ์ หมวกนาค
Keywords: ส่วนประสมทางการตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค
อุตสาหกรรมกระเบื้องปูพื้น
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ
Abstract: ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 31-45ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ ปวช. / ปวส. มีที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเดี่ยว ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001-20,000 บาท จำนวนผู้อยู่อาศัยในบ้านที่ซื้อกระเบื้องปูพื้นไปใช้ส่วนใหญ่มีจำนวนคนในบ้าน 3-4 คน ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดและด้านกระบวนการ มีความสำคัญระดับมากที่สุด ส่วนด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านบุคคล และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก ส่วนผลวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภควันที่มาเลือกซื้อกระเบื้องปูพื้นพบว่าในด้านวันที่มาเลือกซื้อสินค้า คือ วันเสาร์-อาทิตย์ คิดเป็นร้อยละ 72 ผู้มีส่วนร่วมในการซื้อสินค้า คือ บุคคลในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 42.2 วัตถุประสงค์ในการปูพื้นบ้านหรืออาคารที่สร้างใหม่คิดเป็นร้อยละ 43.3 มีวิธีการชำระเงินสดคิดเป็นร้อยละ 86.2 แหล่งข้อมูลในการตัดสินใจซื้อทางอินเตอร์เน็ตคิดเป็นร้อยละ 39.5 และมีสถานที่ซื้อสินค้าไทวัสดุคิดเป็นร้อยละ 49.5และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ ไม่ต่างกัน ส่วนอายุ ระดับการศึกษา ประเภทที่อยู่อาศัย อาชีพ รายได้ต่อครอบครัว จำนวนผู้อยู่อาศัย ที่แตกต่างกันมีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
The results of the study revealed that regarding demography, the majority of the respondents were male, aged between 31-45 years, graduated with a high school certificate (M.6) or with a vocational or higher vocational certificate, lived in a detached house, employed by private enterprises and had a monthly income between 10,001-20,000 baht. The numbers of people living in those houses were 3-4 people. In addition, in terms of marketing mix factors, the results of the study showed that distribution channels, market promotion, and process were placed at the highest level of importance, while product, personnel, and physical environment were placed at a high level of importance. In terms of consumers’ behaviors in choosing days of purchasing floor tiles, 72 percent of all correspondents chose Saturdays and Sundays. For the persons involving in purchasing the floor tiles, it was found that 42.2 percent of all respondents made purchases with their family members. Objectives to lay house floors or new buildings influenced 43.3 percent of purchases. Meanwhile, 86.2 percent of the respondents bought floor tiles with cash, 39.5 percent used the internet as a resource helping their decisions, and 49.5 percent of the respondents bought floor tiles at Thaiwatsadu. Additionally, the results of hypothesis test revealed that gender had no impact on their behavior, whereas the differences in age, educational level, type of housing, occupation, family income, and number of people living in a house had different impacts on marketing mix factors at a statistical significant level of 0.05.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2854
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-151700.pdfปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในอุตสาหกรรมกระเบื้องปูพื้น1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.