Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3139
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การให้ข้อมูลย้อนกลับกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษา สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Other Titles: The Relationship between Feedback Perception and Performance of Employees: Case Study at Thailand Institute of Nuclear Technology (Public Organization)
Authors: เจตรัตน์ เส็งหะพันธุ์
Keywords: การรับรู้การให้ข้อมูลย้อนกลับ
ผลการปฏิบัติงาน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกการจัดการทั่วไป.
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้การให้ข้อมูลย้อนกลับ และผลการ ปฏิบัติงาน 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้การให้ข้อมูลย้อนกลับ และ 3) ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การให้ข้อมูลย้อนกลับกับผลการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษา ได้แก่ พนักงานของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Independent Sample t-test, F-test และการหาค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมพนักงานสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การ มหาชน) มีการรับรู้การให้ข้อมูลย้อนกลับอยู่ในระดับปานกลาง โดยการรับรู้การให้ข้อมูลย้อนกลับ เชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง และมีการรับรู้การให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงลบอยู่ในระดับน้อย ส่วนผล การปฏิบัติงาน พนักงานมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีผลการปฏิบัติงานด้าน คุณภาพของงานมากที่สุด นอกจากนั้นยังพบว่า พนักงานที่มีเพศและระดับการศึกษาต่างกัน มีการรับรู้การให้ข้อมูล ย้อนกลับไม่แตกต่างกัน แต่พนักงานที่มีอายุ และระยะเวลาการปฏิบัติงานต่างกัน มีการรับรู้การให้ ข้อมูลย้อนกลับแตกต่างกัน และการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงบวกกับผลการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ กันในทางบวกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงลบมีความสัมพันธ์กับ ผลการปฏิบัติงาน เพียงด้านคุณภาพของงานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 เพียงด้านเดียว
The objectives of this study were 1) to investigate the level of feedback perception and performance, 2) to study individual factors affecting feedback perception, and 3) to examine the relationship between feedback and performance. Questionnaire was administered to 200 samples at Thailand Institute of Nuclear Technology (Public Organization). The data was then analysed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Sample t-test, F-test and Pearson Correlation Coefficient. The results revealed that Thailand Institute of Nuclear Technology employees had intermediate feedback perception with intermediate positive perception and low negative feedback for overall aspect while their performance was at a high level in every aspect especially the highest in quality of work. Moreover, it was found that the employees with different gender and education level had no difference in the feedback perception whereas the employees with different age and work experience did. The positive feedback related positively with performance at a statistical significance of 0.05. On the other hand, the negative feedback related with performance only in quality of work at 0.01 level of significance.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3139
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-156716.pdfThe Relationship between Feedback Perception and Performance of Employees: Case Study at Thailand Institute of Nuclear Technology (Public Organization)3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.