Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3158
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุพัฒตรา อ่างสมบูรณ์ | |
dc.date.accessioned | 2018-05-15T09:22:51Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T06:40:08Z | - |
dc.date.available | 2018-05-15T09:22:51Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T06:40:08Z | - |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3158 | - |
dc.description | วพ TA 403 ส831อ | en_US |
dc.description.abstract | การขึ้นรูปวัสดุคอมโพสิตอีพ็อกซีมักใช้ความร้อนเพื่อเร่งให้เกิดปฏิกิริยาการบ่มสุก ซึ่งมักพบการเสื่อมสภาพจากความร้อนและใช้เวลาในการเกิดปฏิกิริยานานเกินไป ดังนั้น จึงมีการศึกษาทางเลือกใหม่ในการบ่มสุก โดยการเติมตัวริเริ่มปฏิกิริยาเชิงแสงลงในวัสดุอีพ็อกซี่และใช้รังสีอัลตราไวโอเลตเพื่อเป็นตัวกระตุ้นในการเกิดปฏิกิริยาและลดระยะเวลาในการบ่มสุก งานวิจัยนี้ ได้ทำการเติมที่เติมสารละลายระหว่างตัวริเริ่มปฏิกิริยาเชิงแสงชนิดบิสเอซิลฟอสฟีนออกไซด์และตัวทำให้แข็งชนิดไซโคลแฮกซิลเอไมด์ ที่อัตราส่วนผสม 0.0, 3.0 และ 5.0 ส่วนต่อร้อยส่วนโดยน้ำหนักเรซิ่น (phr.) แล้วกระตุ้นด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตชนิดเอ (UV-A) เป็นเวลา 0.0 2.0 และ 4.0 นาที และทำการบ่มสุกที่อุณหภูมิ 80 100 และ 120 องศาเซลเซียส (°C) ตามลาดับ เพื่อทำการวิเคราะห์หาปริมาณและอัตราการเกิดปฏิกิริยาบ่มสุกด้วยเทคนิคดิฟเฟอร์เรนเชี่ยลสแกนนิ่งแคลอรี่มิทรี่ พบว่า การกระตุ้นด้วย UV-A เป็นเวลา 2 นาที และใช้อุณหภูมิการบ่มสุกที่ 100 °C ส่งผลให้วัสดุอีพ็อกซีมีความหนืดเหมาะสมที่จะนำไปขึ้นรูปและมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงสุด นอกจากนี้ ยังพบว่าระยะเวลาการบ่มสุกที่เหมาะสม คือ 40 นาที จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การใช้สารละลายตัวริเริ่มปฏิกิริยาเชิงแสงที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตราการเชื่อมขวางของสายโซ่โมเลกุลและปริมาณการเชื่อมขวางที่สูงขึ้น ในทุกๆสภาวะการบ่มสุก แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า วัสดุคอมโพสิตอีพ็อกซี่ที่ใช้สารละลายตัวริเริ่มปฏิกิริยาเชิงแสงในปริมาณ 3 phr. และบ่มสุกที่อุณหภูมิ 100 °C เป็นเวลา 40 นาที ให้ค่าการทนต่อแรงกระแทกและการทนต่อแรงดึงสูงสุด จึงสามารถสรุปได้ว่า การกระตุ้นวัสดุอีพ็อกซีที่เติมสารริเริ่มปฏิกิริยาเชิงแสงด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตช่วยลดระยะเวลาและพลังงานในกระบวนการบ่มสุกของงานวัสดุคอมโพสิต | en_US |
dc.description.abstract | Thermal curing is usually used for epoxy composites manufacturing. The thermal degradation occurs when the exothermic reaction produces sufficient heat. As a result, this study investigated the pre-curing process by adding the photo-initiator into epoxy composites and using ultraviolet rays to accelerate the reaction and reducing the curing time. The solution of a photo-initiator Bisacyl Phosphine Oxide (BaPO) and a hardener Cyclohexylamide were added at the rate of 0.0, 3.0 and 5.0 per percent in proportion to resin (phr) mixed with epoxy resin and then activated by ultraviolet-A (UV-A) for 0.0, 2.0, and 4.0 minutes, at the isothermal curing of 80, 100, and 120 °C, respectively. Differential scanning calorimetry was used to analyze the curing behavior in terms of the proportion and reaction. The study found that irradiated epoxy composites activated by UV-A for 2 minutes at the curing temperature 100 °C obtained the proper viscosity and the highest reaction rate. Additionally, the most suitable curing time was 40 minutes. The results showed that the higher content of photo-initiator solution resulted in a higher rate of reaction and a number of crosslinks in every curing condition. However, mechanical characterization with 3.0 phr of photo-initiator solution and at the curing temperature 100 °C for 40 minutes showed the optimal tensile and impact strength. As a consequence, this research concludes that the application of photo-initiators accelerated by ultraviolet rays helps reduce the time and energy in the curing process of epoxy composite manufacturing. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสสตร์. สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ. | en_US |
dc.subject | วัสดุวิศวกรรม | en_US |
dc.subject | วัสดุคอมโพสิตอีพ๊อกซี่ | en_US |
dc.subject | การบ่มสุกด้วยรังสีอัลตราไวเลต | en_US |
dc.title | อิทธิพลของตัวริเริ่มปฏิกิริยาเชิงแสงและการกระตุ้นด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตที่มีต่อสมบัติของวัสดุคอมโพสิตอีพ็อกซี่ | en_US |
dc.title.alternative | The influence of photo-initiator and pre-curing process via ultratviolet-A irradiation on the properties of epoxy composites | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-152408.pdf | อิทธิพลของตัวริเริ่มปฏิกิริยาเชิงแสงและการกระตุ้นด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตที่มีต่อสมบัติของวัสดุคอมโพสิตอีพ็อกซี่ | 11.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.