Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3235
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเธียร ทองลอย
dc.date.accessioned2018-10-18T08:45:13Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:20:31Z-
dc.date.available2018-10-18T08:45:13Z
dc.date.available2020-09-24T04:20:31Z-
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3235-
dc.description.abstractการค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของคนพิการทางการเคลื่อนไหว 2) ความพึงพอใจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของคนพิการ 3) วิเคราะห์ลักษณะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของคนพิการมีผลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการ และ 4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับคุณภาพชีวิตคนพิการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ คนพิการที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำนวน 420 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติ ที่ใช้นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย Independent Sample t-test, One-way ANOVA, LSD (Least Significant Difference) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 26 ถึง 35 ปี มีความพิการมากกว่า 20 ปี รายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 5,001 ถึง 10,000 บาท การศึกษาอยู่ในระดับต่ำากว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานหรือลูกจ้างบริษัทเอกชน ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 ถึง 4 ชั่วโมง โดยมีอยู่ในช่วงเวลา 18.01 น. ถึง 24.00 น. วัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ สถานที่ใช้ในที่พักอาศัย และใช้งานบนมือถือสมาร์ทโฟนเป็นหลัก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีคุณภาพชีวิตคนพิการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เช่นกัน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ข้อมูลด้านเพศ ระดับการศึกษา มีระดับความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ0.05 ส่วนข้อมูลลักษณะการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านช่วงเวลาที่ใช้ วัตถุประสงค์ และ สถานที่ ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีระดับความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตคนพิการโดยภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en_US
dc.description.abstractThe objectives of this independent study were 1) to examine information technology usage of the physically disabled, 2) to investigate satisfaction of information technology usage of the physically disabled, 3) to analyse the effect of information technology usage of the physically disabled on quality of life and 4) to analyse the relationship between satisfaction of information technology usage and quality of life. The sample group was 420 people with physical disabilities who lived in Bangkok, Nonthaburi, Patumthani and Samutprakarn. The instrument used in this study was a self-administered questionnaire. Statistics used to analyse the data were descriptive statistics including frequency, percentage, average or arithmetic mean and standard deviation and inferential statistics including independent Sample t-test, One-way ANOVA, LSD (Least Significant Difference) and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient. The results showed that most respondents were male, aged between 26 and 35 years, disabled for more than 20 years, earned an average monthly wage between 5,001 and 10,000 baht, educated lower than the bachelor’s degree level, and employees in the private sector. They took 3-4 hours of using information technology during the time between 6 pm. and 12 pm. The objectives of using information technology were for entertainment, watching movies, listening to music and playing games. The place that they mostly used was their residence and mainly used on a smart phone. Furthermore, the overall satisfaction of using information technology was at a high level and so was the overall quality of life. The results of hypothesis testing found that the gender and the educational level had satisfaction of using information technology differently at the statistical significance of 0.05. In terms of the duration, objectives and places, they had satisfaction of using of using information technology differently at the statistical significance of 0.05. The overall satisfaction of using information technology correlated with the overall quality of life at the statistical significance of 0.05.
dc.language.isothaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.คณะบริหารธุรกิจ.วิชาเอกระบบสารสนเทศen_US
dc.subjectคนพิการen_US
dc.subjectความพึงพอใจen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectคนพิการ -- การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตคนพิการen_US
dc.subjectความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับคุณภาพชีวิตคนพิการ : กรณีศึกษา คนพิการทางการเคลื่อนไหวen_US
dc.title.alternativeThe Relationship between Satisfaction of Information Technology Usage and Quality of Life: Case Study of the Physically Disabled.en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT158648.pdfThe Relationship between Satisfaction of Information Technology Usage and Quality of Life: Case Study of the Physically Disabled6.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.