Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3285
Title: บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดในการทางานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร
Other Titles: Antecedents affecting job stress of employees in Navanakorn industrial estate
Authors: อรนิชา ชื่นจิตร
Keywords: ความเครียด
ความเครียดในการทำงาน
นิคมอุตสาหกรรมนวนคร
Issue Date: 2017
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกการจัดการทั่วไป
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มาก่อนที่มีอิทธิพลต่อความเครียดในการทางาน ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านบุคลิกภาพแบบความเชื่ออำนาจควบคุม ปัจจัยด้านลักษณะงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ พนักงานระดับปฏิบัติการของโรงงานอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรม นวนคร จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test , One-way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดในการทำงานอยู่ในระดับต่ำ และผลการทดสอบปัจจัยที่มาก่อนที่มีอิทธิพลต่อความเครียดในการทำงาน พบว่า มีทั้งหมด 6 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เรียงตามลำดับได้แก่ 1) ปัจจัยคุณลักษณะงานด้านความหลากหลายของทักษะ 2) ปัจจัยบุคลิกภาพแบบเชื่ออำนาจควบคุมภายนอก 3) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุที่ต่ำกว่า 20 ปี 4) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี 5) ปัจจัยคุณลักษณะงานด้านความเด่นชัดของงาน และ 6) ปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงานด้านสวัสดิการหรือผลประโยชน์อื่น ๆ โดยตัวแปรที่มาก่อนเหล่านี้มีความสัมพันธ์เป็นเส้นตรงกับความเครียดในการทำงานโดยรวมของพนักงาน และสามารถเป็นตัวทำนายความเครียดในการทำงานโดยรวมของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมนวนคร ได้ถึงร้อยละ 34.2
The research aimed to examine the antecedents affecting job stress including a personal factor, a personality factor as a locus of control, a job characteristic factor, and a working environment factor. This research was conducted using questionnaires to collect data from 400 operations staff in Navanakorn Industrial Estate. Descriptive statistics used to analyze the gained data included percentage, mean, and standard deviation. The t-test, One-way ANOVA, and stepwise multiple regression analysis were used to test the hypotheses proposed by the research. The results showed that the sample was at the low level of job stress. The findings from examining the antecedents affecting job stress revealed that six factors influenced job stress with statistical significance at the 0.05 level including 1) job traits with respect to diversity skills, 2) an external locus of control, 3) the personal factor with respect to less than 20 years of age, 4) the personal factor with respect to lower Bachelors’ Degree, 5) job traits with respect to work clarity, 6) working environment with respect to welfare and other benefits. These antecedents had a linear relationship with job stress of the employees and could be the predictors of job stress of the employees in Navanakorn Industrial Estate at 34.2% (Adjusted R2).
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3285
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-158587.pdfAntecedents affecting job stress of employees in Navanakorn industrial estate4.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.