Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3293
Title: ปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยว ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: The push and pull factors affecting tourism in Phra Nakhon Si Ayutthaya province
Authors: วิธานี สนามแจ่ม
Keywords: ปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูด
นักท่องเที่ยวชาวไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกการจัดการทั่วไป.
Abstract: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่ส่งผลต่อ การท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของนักท่องเที่ยวชาวไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Sample t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท และมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจัยผลักดันประกอบด้วยด้านความต้องการการพักผ่อนและหลีกหนี ด้านความต้องการเพิ่มพูนความรู้และศึกษาวัฒนธรรม ด้านความต้องการเพิ่มความสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อน และด้านความต้องการค้นหาความแปลกใหม่ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32, 4.15, 4.12 และ 4.06 ตามลาดับ และปัจจัยดึงดูดประกอบด้วยด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการ ด้านความปลอดภัยและความคุ้มค่า ด้านความเป็นเอกลักษณ์ และด้านบุคคลที่อยู่ในท้องถิ่น โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36, 4.32, 4.30 และ 4.29 ตามลำดับ ในส่วนของนักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ สถานภาพและภูมิลาเนาที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยผลักดันแตกต่างกัน และนักท่องเที่ยวที่มีอายุ สถานภาพและภูมิลำเนาที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยดึงดูดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยผลักดันมีความสัมพันธ์กับปัจจัยดึงดูดในทิศทางเดียวกัน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.701 อยู่ในระดับค่อนข้างสูง
The purpose of this independent study was to study the push and pull factors affecting tourism of Thai tourists in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. The samples were 400 Thai tourists who travelled in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, and the questionnaire was used as the instrument for data collection. Statistics used for data analysis included percentage, mean, frequency, standard deviation, Independent Samples t-test, One-way ANOVA, and Pearson Correlation Coefficient. The results of the independent study revealed that the majority of Thai tourists were female having ages between 31-40 years old with single status and obtained a bachelor’s degree. Most of them were employees of private companies with the average monthly income of 10,001-20,000 Baht, and their hometown was in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Push factors are the results showed that the means of the need for relaxing and escaping, the need for enhancing knowledge and studying culture, the need for increasing the relationship with family and friends, and the need for exploring novelty in the push factors had the mean of 4.32, 4.15, 4.12, and 4.06, respectively. Meanwhile pull factors are facilities and services, security and worthiness, uniqueness, and local people in the pull factors had the mean of 4.36, 4.32, 4.30, and 4.29, respectively. In addition, the tourists who had different gender, age, marital status, and hometown significantly had different opinions on the push factors whereas the tourists who had different age, marital status, and hometown significantly had different opinions on the pull factors at a significance level of 0.05. Finally, the push factors were directly related to the pull factors at correlation coefficient is 0.701 and a relatively high level.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3293
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-158594-Abs.pdfThe push and pull factors affecting tourism in Phra Nakhon Si Ayutthaya province978.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.