Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3612
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชุติมา สถิติรัต | |
dc.date.accessioned | 2020-08-27T23:29:53Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T04:31:10Z | - |
dc.date.available | 2020-08-27T23:29:53Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T04:31:10Z | - |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3612 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อกระบวนการติดต่อสื่อสารงานบุคลากร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารงานบุคลากร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี (3) เพื่อศึกษาปัจจัยกระบวนการติดต่อสื่อสารภายใน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ต่อประสิทธิภาพการสื่อสารงานบุคลากร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรของคณะบริหารธุรกิจ ทั้งหมด 148 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentages) ค่าเฉลี่ย (X̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถาม มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารในด้านผู้ส่งข่าวสารมากเป็นอันดับที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 4.24 รองลงมา ได้แก่ ด้านผู้รับสาร มีค่าเฉลี่ย 4.14 ด้านตัวข่าวสาร มีค่าเฉลี่ย 3.99 และด้านช่องทางการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ย 3.95 ตามลำดับ ด้านสื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมบุคลากรของคณะบริหารธุรกิจมีความเห็นในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.11 2. เมื่อใช้สถิติ f-test ทดสอบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม เกี่ยวกับกระบวนการติดต่อสื่อสารภายในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบความแตกต่างของตัวแปรด้านตัวข่าวสาร และด้านสื่อสังคมออนไลน์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยกระบวนการติดต่อสื่อสารต่อประสิทธิภาพการสื่อสารงานบุคลากร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่าปัจจัยกระบวนการติดต่อสื่อสาร จานวน 3 ปัจจัย คือ ด้านตัวข่าวสาร ด้านช่องทางการสื่อสาร และด้านสื่อสังคมออนไลน์ มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ผลการวิเคราะห์ช่องทางการสื่อสารภายในองค์การกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ เพื่อให้การสื่อสารงานบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มีประสิทธิภาพ ควรพิจารณาช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้รับแต่ละบุคคล โดยข่าวสารบางอย่างอาจพิจารณาเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารมากกว่า 1 ช่องทาง เพื่อให้ผู้รับข่าวสารได้รับข่าวสารได้ครบถ้วน ทั่วถึง และทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานต่อไป | en_US |
dc.description.abstract | This research had objectives to (1) compare personal factors with personnel’ contact process of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, (2) study personal factors towards personnel’ communication process of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and (3) study personnel’ communication process towards effective communication of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Population in this study was 148 personnel working in the Faculty of Business Administration. The tool was questionnaire. Statistics used in this study were frequency, percentage, mean, standard deviation, F-test, and multiple regression analysis. The result indicated that 1) The respondents had opinion towards communication process on message sender aspect in the first rank with mean score as of 4.24, and it was followed by message receivers with mean score as of 4.14, message with mean score as of 3.99, and communication channel with mean score as of 3.95. In addition, the respondents had opinion towards online social media of the personnel in the Faculty of Business Administration in high level with mean score as of 4.11. 2) After using F-test assessing mean of respondents’ opinion towards personnel’ communication process of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, the result revealed differences in message and online social media aspects at the statistical significance level as of 0.05. 3) Analysis of personnel’s effective communication process of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, revealed that three factors including message, communication channel, and online social media had influence on personnel’s effective communication process at the statistical significance level as of 0.05. 4) Analysis of personnel’s effective communication process of the Faculty of Business Administration recommends that the faculty should consider the appropriate channel of communication, which some message should be delivered by more than one channel in order that the message receivers can receive compete messages and fully utilize them. | |
dc.language.iso | thai | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ | en_US |
dc.subject | การสื่อสารภายในองค์การ | en_US |
dc.subject | ประสิทธิภาพการสื่อสาร | en_US |
dc.title | การศึกษาประสิทธิภาพการสื่อสาร งานบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี | en_US |
dc.title.alternative | A study of Communication Efficiency of Personnel of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Pathum Thani Province | en_US |
dc.type | research | en_US |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
27082020 research - Chutim_s.pdf | A study of Communication Efficiency of Personnel of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Pathum Thani Province | 2.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.