Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3677
Title: ทักษะทางการเงินที่ส่งผลต่อความมั่งคั่งทางการเงินของกลุ่มวิชาชีพครู ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Financial literacy affecting the wealth of teaching professionals in the Bangkok metropolitan region
Authors: ณฐมน เพิ่มสุข
Keywords: ทักษะทางการเงิน
ความรู้ทางการเงิน
การศึกษา – การเงิน
ทัศนคติทางการเงิน
พฤติกรรมทางการเงิน
ความมั่งคั่งทางการเงิน
financial literacy
financial attitude
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. สาขาวิชาเอกการเงิน
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่งคั่งทางการเงิน ของกลุ่มวิชาชีพครู ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษาที่ประกอบวิชาชีพครู ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติเชิงพรรณาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ One-Way ANOVA วิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีทักษะทางการเงินอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทักษะทางการเงิน ด้านทัศนคติทางการเงิน และด้านพฤติกรรมทางการเงินอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านความรู้ทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าทักษะทางการเงินด้านพฤติกรรมทางการเงิน มีผลต่อความมั่งคั่งทางการเงินด้านสภาพคล่อง ด้านหนี้สิน และด้านเงินออม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านความรู้ทางการเงิน พบว่า มีผลต่อความมั่งคั่งทางการเงิน ด้านสภาพคล่อง และด้านเงินออม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับทักษะทางการเงิน ด้านทัศนคติทางการเงิน พบว่าไม่มีผลต่อความมั่งคั่งทางการเงิน
The purpose of this research was to study the factors impacting on the wealth of teaching professionals in the Bangkok Metropolitan Region. The sample group was 400 teaching professions in the Bangkok Metropolitan Region. A questionnaire was employed as an instrument for data collection. The descriptive statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The inferential statistics were, One-Way ANOVA, LSD analysis, Pearson's Correlation Coefficient, and Multiple Regression Analysis. The result indicated that the financial literacy of respondents was at a high level. For each aspect, the financial attitude and financial behavior of respondents were at a high level, while financial knowledge was at a moderate level. Additionally, financial behavior influenced on wealth in terms of liquidity, debt and savings at the statistical significance level of 0.01 while financial knowledge impacted on liquidity and savings at the statistical significance level of 0.01. However, financial attitude did not affect wealth.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3677
Appears in Collections:การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-166664.pdfทักษะทางการเงินที่ส่งผลต่อความมั่งคั่งทางการเงินของกลุ่มวิชาชีพครู ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล62.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.