Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3685
Title: ผลกระทบของเถ้าแกลบเป็นวัสดุเติมแต่งในพอลิเอทธิลีนความหนาแน่นสูงรีไซเคิลโดยกระบวนการขึ้นรูปแบบหมุน
Other Titles: The effect of rice husk ash as additive in recycled high-density polyethylene with the rotational molding process
Authors: บรรณรต ทาประเสริฐ
Keywords: พลาสติก -- การขึ้นรูป
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิศวกรรมวัสดุ.
Abstract: การนำพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วมาแปรรูปแล้วนำมาใช้ซ้ำ (Recycle) เป็นวิธีที่ช่วยลดต้นทุนในการผลิตทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปด้วยวัตถุดิบใหม่ แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่มักพบในผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพลาสติกรีไซเคิลคือ มีสมบัติบางประการลดลงทำให้ไม่เหมาะกับการใช้งาน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะศึกษาผลกระทบของการใช้เถ้าแกลบเป็นวัสดุเติมแต่งในพอลิเอทธิลีนความหนาแน่นสูงรีไซเคิลโดยกระบวนการขึ้นรูปแบบหมุน งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของวิธีการผสมและอัตราส่วนการผสมของเถ้าแกลบที่มีอนุภาคขนาดประมาณ 174.1 ไมครอน และพอลิเอทธิลีนความหนาแน่นสูงรีไซเคิลอนุภาคขนาด 255 ไมครอน วิธีการผสมถูกแบ่งเป็นการผสมแบบแห้ง (Dry Blend) และแบบหลอมเหลว (Melt Blend) ที่อัตราส่วนการผสม 10, 20, 30 และ 40 %wt. อิทธิพลอัตราส่วนที่เหมาะสมถูกขึ้นรูปโดยเครื่องขึ้นรูปแบบหมุนแกนเดี่ยว และการทดสอบสมบัติเชิงกลถูกขึ้นรูปด้วยเครื่องขึ้นรูปแบบหมุนเชิงอุตสาหกรรม ผลการทดลองพบว่าการผสมแบบหลอมเหลวสามารถขึ้นรูปได้สูงสุดที่มีปริมาณเถ้าแกลบสูงสุดที่อัตราส่วน 40 %wt. มีการต้านทานการเจาะทะลุสูงสุดที่อัตราส่วน 10 %wt. ค่าการทดสอบ 650 นิวตัน ในขณะที่การผสมแบบแห้งสามารถขึ้นรูปได้สูงสุดที่มีปริมาณเถ้าแกลบสูงสุดที่ 20 %wt. มีการต้านทานการเจาะทะลุสูงสุดที่อัตราส่วน 10 %wt. ค่าการทดสอบ 485 นิวตัน ซึ่งจากผลการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นเจนว่าการใช้เถ้าแกลบเป็นวัสดุเติมแต่งร่วมกับพอลิเอทธิลีนความหนาแน่นสูงรีไซเคิลในกระบวนการขึ้นรูปแบบหมุนที่อัตราส่วน 10 %wt. และใช้วิธีการผสมแบบหลอมเหลวมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในด้านความแข็งแรงของวิธีการผสม และอัตราส่วนการเติมเถ้าแกลบ
The plastic recycling is a method of reducing the production costs that is cheaper than manufacturing new plastic. A major problem in recycling plastic is that the more quality decreases the more time it is recycled. The purpose of this research was to study the effect of rice husk ash as additive in recycled high-density polyethylene with the rotational molding process. This research studied the influence of a compound containing a mixture of rice husk ash with 174.1 microns and 255 microns of recycled high-density polyethylene. The compound was separated into both a dry blend and melt blend in ratio mixture 10, 20, 30 and 40 % wt. The influence ratio was molded by axial powder flow apparatus machine. The mechanical properties were molded using rotational molding. The result of the research was found that the melt blends could be the best mold in the highest quantity of rice husk ash was at the ratio of 40% wt. The highest resistance puncture was at the ratio of 10 % wt and the value test was 650 N. While the dry blends the best mold in the highest quantity of rice husk ash at the ratio of 20% wt. The highest resistance puncture was at the ratio of 10 % wt and the value test was 485 N. The experimental showed that the most rice husk ash as an additive in combination with recycled high-density polyethylene was at the ratio 10 % wt and the melt blend was the best and highest effective compound in strength, integration and the ratio of adding the rice husk ash.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3685
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-166679.pdfThe effect of rice husk ash as additive in recycled high-density polyethylene with the rotational molding process11.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.