Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3686
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อัครายุตม์ กาญจนเสถียร | - |
dc.date.accessioned | 2020-11-25T02:43:28Z | - |
dc.date.available | 2020-11-25T02:43:28Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3686 | - |
dc.description.abstract | การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุเพื่อการศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร 2) ทัศนคติของพนักงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร 3) แรงจูงใจของพนักงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร 4) บรรยากาศในการทำงานของพนักงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปฏิบัติการของบริษัท รักษาความปลอดภัย แอลโซคไทย เซอร์วิสเซส จำกัด จำนวน 420 คน ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบไปด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย Independent Sample t-test, One-way ANOVA, Pearson Product-Moment Correlation และ Multiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 31 ปี - 40 ปี สถานภาพ สมรส มีระดับการศึกษา มัธยมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 บาท - 18,000 บาทและมีอายุงานน้อยกว่า 1 ปี ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 31 ปี - 40 ปี สถานภาพ สมรส มีระดับการศึกษา มัธยมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 บาท – 18,000 บาทและมีอายุงานน้อยกว่า 1 ปี ผลการทดสอบสมมุติฐานด้านทัศนคติ พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติโดยภาพรวมมีระดับที่มาก และพบว่าทัศนคติ องค์ประกอบด้านปัญญาไม่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร แต่ขณะที่ทัศนคติ องค์ประกอบด้านอารมณ์ ความรู้สึกและทัศนคติ ด้านพฤติกรรมมีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ผลการทดสอบสมมุติฐานด้านแรงจูงใจ พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยภาพรวมมีระดับที่ มาก และพบว่า แรงจูงใจ ปัจจัยจูงใจ ด้านลักษณะของงานและด้านความรับผิดชอบไม่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ด้านการได้รับการยอมรับนับถือและด้านความก้าวหน้ามีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรส่วนด้านความสำเร็จในการทำงานไม่นำมาเข้าสมการเพื่อการพยากรณ์แรงจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน ด้านนโยบายการบริหาร ด้านปกครองบังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์ของหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน ด้านสถานะทางอาชีพ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความมั่นคงในการทำงานและด้านเงินเดือนและสวัสดิการมีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ผลการทดสอบสมมุติฐานด้านบรรยากาศในการทำงาน พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศโดยภาพรวมมีระดับที่มาก และพบว่าบรรยากาศในการทำงานด้านโครงสร้างองค์กร ด้านความเป็นอิสระ ด้านรางวัลตอบแทนด้านอบอุ่นและสนับสนุน ด้านการยอมรับความขัดแย้งและด้านการเปลี่ยนแปลงในองค์กรมีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 | en |
dc.description.abstract | The objectives of this independent study were to study: 1) personal factors affecting employee commitment, 2) attitudes affecting employee commitment, 3) motivation affecting employee commitment, and 4) work atmosphere affecting employee commitment. The samples used in this study were 420 people who were the operation department staffs of Security Guard ALSOK Thai Security Services Company Limited. They were selected by simple random sampling. The research instrument used to collect data was a questionnaire. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation coefficient, and multiple regression analysis for hypothesis experiments. The result of the study showed that most respondents were men, aged between 31 - 40 years old, married, graduated from high school, average monthly income 15,001 - 18,000 baht, and work experience less than 1 year. The results of attitude hypothesis testing showed that the opinions about the overall attitude were at a high level.The attitudes in the cognitive component did not affect the employee commitment, whereas, the attitudes in the affective component and the behavioral component affected the employee commitment. The results of motivation hypothesis testing revealed that the opinions were at a high level overall, and it was found that motivation, motivation factors, job description, and the responsibility component did not affect the employee commitment. Regarding recognition and the promotion component, it had effects on employee commitment, while work success did not bring the equation for forecasting, motivation, and sustaining factors. In terms of management policy, the administrative system, the relationship between the leaders and colleagues, career status, work atmosphere, job security, salary, and welfare, all had effects on employee commitment. The results of the test of the hypothesis of work atmosphere showed that the level of opinions about the atmosphere overall was high, and it was found that the structure component, the autonomy component, the reward component, the warmth and support component, the tolerance of conflict component and the organizational change component, there was a statistically significant effect on employee commitment at the level of 0.05. | en |
dc.language.iso | thai | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. สาขาการจัดการทั่วไป | en |
dc.subject | การจูงใจในการทำงาน | en |
dc.subject | ทัศนคติ | en |
dc.subject | แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ | en |
dc.subject | Employee motivation | en |
dc.subject | Attitudes | en |
dc.subject | Achievement motivation | en |
dc.title | ทัศนคติ แรงจูงใจและบรรยากาศในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย บริษัท รักษาความปลอดภัย แอลโซคไทย เซอร์วิสเซส จำกัด | en |
dc.title.alternative | Attitudes, motivation and work atmosphere affecting the commitment of security officers at Alsok Thai Security Services Company Limited | en |
dc.type | Independent Study | en |
Appears in Collections: | การค้นคว้าอิสระ (Independent Study - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-167601.pdf | Attitudes, motivation and work atmosphere affecting the commitment of security officers at Alsok Thai Security Services Company Limited | 5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.