Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3757
Title: การศึกษาความพึงพอใจต่อเพจเฟซบุ๊กมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Other Titles: The Study of Satisfaction toward Rajamangala University of Technology Thanyabusi’s Facebook Page
Authors: พนมฉัต คงพุ่ม
Keywords: เพจเฟซบุ๊ก
สภาพและปัญหา
ความพึงพอใจ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กองประชาสัมพันธ์.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของเพจเฟซบุ๊กและศึกษาความพึงพอใจต่อเพจเฟซบุ๊กมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุน บุคลากรสายวิชาการ และนักศึกษา จำนวน 3 คน กลุ่มละ 3 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คัดเลือกบุคคลที่เป็นผู้ใช้งานเพจเฟซบุ๊กมหาวิทยาลัย เพื่อสัมภาษณ์เกี่ยวกับสภาพและปัญหาของเพจเฟซบุ๊ก และบุคลากรสายสนับสนุน บุคลากรสายวิชาการ จำนวน 327 คน และนักศึกษา จำนวน 379 คน เพื่อตอบแบบสอบถามความพึงพอใจต่อเพจเฟซบุ๊ก สามารถเก็บข้อมูลกลับมาได้ 682 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์สภาพและปัญหาของเพจเฟซบุ๊กมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้เพจเฟซบุ๊กมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 29 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันในการใช้งานเพจเฟซบุ๊ก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จะใช้ในการอ่านข่าวสารการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย ผู้ใช้งานเพจ เฟซบุ๊กจะอ่านข่าวต่าง ๆ ทั่วไป ไม่ได้เจาะจงอ่านข่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือค้นหาข่าวสารเฉพาะเรื่อง เพจเฟซบุ๊กมหาวิทยาลัยจึงเป็นแหล่งกระจายข่าวสารให้บุคลากรได้รับรู้ถึงเรื่องราวที่ผ่านมา ซึ่งช่วยส่งเสริมภาพลักษณะที่ดีให้กับมหาวิทยาลัย ปัญหาที่พบ คือ ภาพประกอบข่าว มีขนาดไม่เหมาะสมกับหน้าจอโทรศัพท์มือถือ บางภาพจะมีลักษณะยืดสูงเกินไป บางภาพขอบถูกตัด ตกขอบ การนำเสนอส่วนใหญ่เป็นข้อความยาว ๆ ทำให้ไม่น่าสนใจ มีการโพสต์ข่าวเดียวกันซ้ำ ๆ หลายครั้ง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน สำหรับข้อปรับปรุงแก้ไข ควรแยกกลุ่มข่าวสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ข่าวสารของนักศึกษา ควรมีการอัพเดทหรือรีโพสต์เป็นประจำ ในช่วงเวลาของกิจกรรมนั้น ๆ เช่น ประกาศทุนการศึกษา ประกาศรับสมัครจิตอาสา การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อรอบ TCAS เป็นต้น นอกจากนี้ควรมีการนำ Info Graphic แฮชแท็ก และแอนิเมชัน มาใช้ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร การให้ความรู้ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระได้ง่ายและรวดเร็ว ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจต่อเพจเฟซบุ๊กมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 21-23 ปี มีตำแหน่งหน้าที่เป็นนักศึกษา มีระดับความพึงพอใจต่อเพจเฟซบุ๊กของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะลักษณะการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เป็นลำดับแรก ด้านรูปแบบการนำเสนอ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความพึงพอใจในการนำเสนอภาพ Info Graphic เพื่อให้ความรู้เรื่องต่าง ๆ อย่างเข้าใจง่าย อยู่ในระดับมากเป็นลำดับแรก และด้านประโยชน์ ต่อผู้ใช้เพจเฟซบุ๊ก พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความพึงพอใจในข่าวสารที่มีประโยชน์ต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองอยู่ในระดับมาก เป็นลำดับแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were to study about circumstances and satisfaction toward Rajamangala University of Technology Thanyabusi’s Facebook Page. The samples were divided into two groups. 1) Three of Support department personnel, Three of Academic personnel and Three of University students selected by purposive sampling from Facebook page users to interview about circumstances and problems of Facebook page. 2) 327 of Support department personnel and Academic personnel and 379 of University students to do satisfaction questionnaire toward Facebook page. Instrumentation was composed of 1) Interview form about circumstances and problems of Rajamangala University of Technology Thanyabusi’s Facebook page 2) Satisfaction questionnaire toward Rajamangala University of Technology Thanyabusi’s Facebook page The finding of this research were 1) The current condition of using Rajamangala University of Technology Thanyabusi’s Facebook page is to read the news and informations about University’s activities in various situations. Facebook users read all general information with no specification of reading and searching in any topic. Facebook page is the news distribution for university personnel and improve corporate image. 2) The problems are. News illustration size is not fit for mobile screen. Some are too long, some are trimmed. News presentation is uninteresting, most of them are texts. Repeatedly posted news. 3) The suggestion are. Audience analysis. News update and repost during period of activities to announce the news thoroughly to students and people. For example, Scholarship, volunteer or TCAS admission. Use more infographic, hashtag and animation to improve the information’s acknowledgement. Especially, using hashtag helps user to access information easier.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3757
Appears in Collections:วิจัย (Research - PR)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20220606-research1-phanomchat k..pdfThe Study of Satisfaction toward Rajamangala University of Technology Thanyabusi’s Facebook Page3.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.