Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3820
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศรัญญา น้อยพิมาย | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-31T07:08:08Z | - |
dc.date.available | 2021-03-31T07:08:08Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3820 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาปทุมธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 317 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNI Modified) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางในการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ตามการจัดลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ทักษะด้านความคิดรวบยอด ผู้บริหารสถานศึกษามีวิธีการคิดแก้ปัญหาด้วยวิธีการใหม่ๆ ได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว นำความรู้ประสบการณ์ที่มีมาประยุกต์ใช้ประกอบกับข้อมูลการตัดสินใจ ได้อย่างมีคุณภาพ มีการวิเคราะห์และวางแผนการจัดการศึกษาได้อย่างเหมาะสม (2) ทักษะด้านการสอน ผู้บริหารสถานศึกษามีการพัฒนาครูให้สามารถทำผลงานทางวิชาการเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โดยการวัดประเมินผล นิเทศ กำกับ ติดตาม การเรียนการสอนของครูในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ สามารถจัดการและบริหารหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับภารกิจ สังคม และชุมชน (3) ทักษะด้านเทคนิควิธี ผู้บริหารสถานศึกษามีการระดมความคิด นำวิธีการทำงานแบบร่วมมือมาใช้เพื่อความก้าวหน้าในการทำงาน มีเทคนิคในการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติที่หลากหลาย สามารถจัดหาเครื่องมือและทรัพยากรที่ใช้ในการบริหารได้อย่างเพียงพอกับความต้องการ | en |
dc.description.abstract | This research aimed to study: 1) the current conditions and desired conditions of the administrative skills of school administrators under the Pathum Thani Secondary Education Area 2, and 2) the development guidelines for the administrative skills of school administrators under the Pathum Thani Secondary Education Area 2. The research sample included 317 school teachers working in the academic year 2017 under the Pathum Thani Secondary Education Area 2. Key informants consisted of 6 school administrators chosen by using the stratified sampling. The instruments for data collection were a questionnaire and an interview form. The data were analyzed by using percentage, frequency, mean, standard deviation, Modified Priority Needs Index (PNI Modified), and content analysis. Findings revealed that 1) the overall current conditions of the administrative skills of school administrators under the Pathum Thani Secondary Education Area 2 was at a moderate level while the desirable conditions of the administrative skills of school administrators was at a high level; and 2) the development guidelines for the administrative skills of school administrators under the Pathum Thani Secondary Education Area 2 based on the ranking of the three essential PNI Modified were as follows: (1) the comprehensive conceptual skills of the school administrators could be seen through their new methods of problem-solving with accuracy and cursoriness; qualified application of knowledge and experience gained in decision making, (2) the teaching skills were shown in their encouragement to have their teachers do their academic work for the career progress through the systematic measurement, evaluation, supervision, control, and monitoring of the teaching and learning, including the management and administration of the teaching and learning curriculum to meet the requirements of the mission, society and community, and (3) their technical skills included using a brainstorming strategy to find out the collaborative working system for career progress; having various techniques in supervision, control, monitoring, and evaluation of the school operation; and supplying sufficient tools and resources for their administration. | en |
dc.language.iso | thai | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | en |
dc.subject | ทักษะ, | en |
dc.subject | การบริหาร, | en |
dc.subject | ผู้บริหารสถานศึกษา | en |
dc.title | ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 | en |
dc.title.alternative | Administrative skills of school administrators under Pathum Thani primary educational service area office 2 | en |
dc.type | Thesis | en |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-167653.pdf | ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 | 4.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.