Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3873
Title: ศึกษาความต้องการใช้สารสนเทศสหกิจศึกษาของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Other Titles: Requirement in Information Use by Cooperative Education Students of the Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi
Authors: กรรณิการ์ สงวนดี
Keywords: ความต้องการใช้สารสนเทศ,
สารสนเทศ,
สหกิจศึกษา
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะศิลปศาสตร์
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการใช้สารสนเทศสหกิจศึกษาของนักศึกษา สหกิจศึกษา 2) ความพึงพอใจในการใช้สารสนเทศสหกิจศึกษาของนักศึกษาสหกิจศึกษา และ3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการใช้สารสนเทศสหกิจศึกษาของนักศึกษาสหกิจศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสหกิจ ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวนทั้งสิ้น 385 คน เป็นนักศึกษา ที่ลงทะเบียนวิชาเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา ปีการศึกษา 2559 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที ค่าเอฟ ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสหสัมพันธ์เชิงถดถอย ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาสหกิจศึกษาต้องการใช้สารสนเทศสหกิจศึกษาของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในทุกด้าน ได้แก่ ด้านขั้นตอนการใช้สารสนเทศ ด้านบริการ สารสนเทศ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับความพึงพอใจในการใช้สารสนเทศนั้น พบว่า นักศึกษาสหกิจศึกษามีความพึงพอใจในการใช้สารสนเทศสหกิจศึกษาอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการและการสนับสนุนการใช้สารสนเทศสหกิจศึกษา ด้านคุณภาพของสารสนเทศสหกิจศึกษา และด้านประโยชน์และการนำสารสนเทศสหกิจศึกษาไปใช้ สำหรับปัญหา อุปสรรค พบว่า ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร ทำให้การใช้ข้อมูล เช่น ค้นหา ดาวน์โหลดล่าช้า และให้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีการจัดทำแอปพลิเคชันงานสหกิจศึกษาเพื่อให้สะดวกในการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา การทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ อายุ และความถี่ในการใช้สารสนเทศที่แตกต่างกัน มีความต้องการใช้สารสนเทศและความพึงพอใจสารสนเทศไม่แตกต่างกัน ยกเว้นนักศึกษาที่มีอายุแตกต่างกันมีความต้องการใช้สารสนเทศสหกิจศึกษาแตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาเอกแตกต่างกันมีความต้องการใช้สารสนเทศและความพึงพอใจในการใช้สารสนเทศสหกิจศึกษา ของ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการวิเคราะห์ถดถอยพหุขั้นตอนเพื่อหาตัวแปรที่มีอำนาจในการทำนายความต้องการใช้สารสนเทศ สหกิจศึกษาที่มีต่อความพึงพอใจในต้องการใช้สารสนเทศสหกิจศึกษา พบว่า ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีมีผลต่อความพึงพอใจในการใช้สารสนเทศสหกิจศึกษา เท่ากับ .244 และด้านบริการสารสนเทศมีผลต่อความพึงพอใจในการใช้สารสนเทศสหกิจศึกษา เท่ากับ .728 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This research aimed to study: 1) needs for information technology usage of cooperative education students, 2) satisfaction of information technology usage of cooperative education students, and 3) problems and feedback for information technology usage of cooperative education students, Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The samples of this research were 385 students who enrolled Preparation for Professional Experience course, academic year 2016, Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Questionnaires were used to collect data. Statistics used in this research included percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, and Pearson correlation, and regression. The results showed that the needs for information technology usage of students of Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi were in all aspects including steps of information technology usage, information technology services, and information technology. In terms of satisfaction, it revealed that cooperative education students showed high satisfaction in all aspects including management and support of cooperative education information technology usage, quality of information technology and usefulness and application of cooperative education information technology. In terms of problems and obstacles, the results indicated that the Internet connection was not stable which resulted in delay in information usage such as slow download. The respondents suggested that application for cooperative education should be created in order to make it more convenient and available at all time. The hypothesis testing showed that different genders, ages and frequency of use had similar needs for information technology and levels of satisfaction. However, students with different ages indicated different needs for cooperative education information technology. The results also showed that students of different majors had different needs for information technology and levels of satisfaction for cooperative education information technology usage with statistically significant level of .05. When analyzing with regression to find the factors that could predict the needs for cooperative education information technology influencing satisfaction for cooperative education information technology, it showed that information technology had impact on satisfaction for cooperative education information technology with the value of .244. In terms of information technology service, it had impact on satisfaction for cooperative education information technology usage with the value of .728,with statistically significant value of .05
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3873
Appears in Collections:วิจัย (Research - LARTS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20221201-Research_kannikar_s.pdfศึกษาความต้องการใช้สารสนเทศสหกิจศึกษาของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.