Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3903
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพัชรี อินทาปัจ-
dc.date.accessioned2022-05-12T05:52:16Z-
dc.date.available2022-05-12T05:52:16Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3903-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 346 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ได้แก่ (1) ด้านวิสัยทัศน์ พบว่า การมีคุณธรรม ความโปร่งใสตรวจสอบข้อมูลได้ การมีจุดยืนที่ชัดเจน การกำหนดทิศทางและเป้าหมายของสถานศึกษา (2) ด้านความยืดหยุ่น พบว่า การเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานมีอิสระ เสรีภาพ สามารถใช้ดุลพินิจ และตัดสินใจด้วยตนเองในการกาหนดระยะเวลาในการทำงานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนด การทำงาน (3) ด้านจินตนาการ พบว่า การจัดโครงการพัฒนาบุคลากรศึกษาดูงานนอกสถานที่ และมีกิจกรรมภายในที่สร้างสรรค์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ภายในองค์กร (4) ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา พบว่า การบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ การมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน ให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เป็นที่ยอมรับและศรัทธาของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน และ (5) ด้านความท้าทาย พบว่า การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและผูกพันของบุคลากรให้เกิดความรู้สึกอยากร่วมงานในระยะยาว เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร และการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ เกิดความร่วมแรงร่วมใจ ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างปกติสุขen
dc.description.abstractThis study aimed to: 1) investigate the creative leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 3, and 2) explore the development approach of creative leadership of the school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 3. The research samples derived from the cluster random sampling method included 346 teachers in the schools under the Secondary Educational Service Area Office 3 in the academic year 2019. The interview's key informants consisted of six school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 3. The instruments used for data collection were comprised of questionnaires and interview forms. The statistics including frequency, percentage, mean and standard deviation, and the content analysis were employed to analyze the collected data. The research results revealed that: 1) the creative leadership of the school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 3 was at a high level, and 2) the development approach to attaining creative leadership of the school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 3 was conducted in five areas comprising: 1) Vision, which consisted of integrity, transparency, accountability, distinct standing, direction, and school goals, 2) Flexibility, which referred to the situations in which the personnel had freedom and discretion to decide on their working schedules, 3) Imagination, which consisted of organizing personnel development projects, field trips, and internal creative activities to strengthen the organization relationship, 4) Problem-solving ability, which consisted of the quality educational management, a key goal of creating educational opportunities for children and young people to receive a quality education by local requirements, acceptance, and faith among students, parents, and communities, and 5) Challenge, which promoted the personnel's participation and engagement to create a long-term desire to work, created organization loyalty, and built human relations and unity at work so that the personnel could work together happily.en
dc.language.isoThaien
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม.en
dc.subjectภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์en
dc.subjectผู้บริหารสถานศึกษาen
dc.subjectสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3en
dc.titleภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3en
dc.title.alternativeThe Creative Leadership of School Administrators under the Secondary Educational Service Area Office 3en
dc.typeThesisen
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-170585.pdfThe Creative Leadership of School Administrators under the Secondary Educational Service Area Office 33.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.