Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4015
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนผลิตบัณฑิตตลอดหลักสูตรของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี 4 ปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Other Titles: Analysis of Production Costs for Graduates of the 4-Year Bachelor’s Degree Programs, Rajamangala University of Technology Thanyaburi
Authors: นนตา เศวตเมธิกุล
Keywords: ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตบัณฑิตตลอดหลักสูตร
อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน
รายได้ตลอดหลักสูตรต่อหน่วย
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กองคลัง.
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยในการผลิตบัณฑิตตลอดหลักสูตร 2) เพื่อวิเคราะห์รายได้รวมตลอดหลักสูตรต่อหน่วย และ 3) เพื่อวิเคราะห์อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน (Benefit-Cost Ratio) เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางการเงินในการบริหารหลักสูตรระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยในการผลิตบัณฑิตตลอดหลักสูตร คือ ข้อมูลค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2561-2564 โดยสุ่มเลือกหลักสูตรแบบเจาะจงคณะละ 1 หลักสูตร รวมทั้งสิ้น 10 หลักสูตร โดยต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตบัณฑิตตลอดหลักสูตร คำนวณจากต้นทุนทางตรง (ค่าใช้จ่ายของหลักสูตร) บวกด้วยต้นทุนทางอ้อม (ค่าใช้จ่ายหน่วยงานสนับสนุน) หารด้วยจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES) สาหรับวิธีการปันส่วนต้นทุนทางอ้อมประยุกต์ใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมอิงตามปริมาณการใช้บริการ นอกจากนี้ ยังได้มีการวิเคราะห์อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน และพบว่า อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนของการผลิตบัณฑิตทุกหลักสูตรมีค่ามากกว่า 1 แสดงว่า การผลิตบัณฑิตทุกหลักสูตรมีความคุ้มค่า อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ควรมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เชื่อมโยงกันได้ทุกระบบ เช่น ระบบการลงทะเบียน ระบบบริหารงานบุคคล และระบบการเงินการคลัง เป็นต้น เพื่อให้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ทำให้สามารถวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตบัณฑิตตลอดหลักสูตรได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาที่เหมาะสม และใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐต่อไป
The objectives of this research were: 1) to analyze the unit cost of graduate production per curriculum, 2) to analyze the total revenue per curriculum per graduate and 3) to analyze the benefit-cost ratio to assess the financial worthiness of managing a four-year bachelor’s degree program. Data used in the analysis of the unit cost of graduate production per curriculum were expenditures extracted from the annual budget from 2018 to 2021. The sample group used in this study comprised 10 curriculums from 10 faculties using purposive sampling, one curriculum per faculty. The unit cost of graduate production per curriculum was calculated by adding direct cost with indirect cost divided by the number of full-time equivalent students (FTES), where indirect cost was estimated by using Activity-Based Costing method against the number of services used. Moreover, the benefit-cost ratio was analyzed and found that the benefit-cost ratio of the graduate production of all curriculums was greater than 1, indicating that the production of graduates in all curriculums was worthwhile. However, the researcher further suggested that there should be a development of an information database system that can be linked to all systems, such as a registration system, human resource management system, and financial system in order to have up-to-date information. This makes it possible to rapidly analyze the costs of graduate production for each curriculum, for information on determining appropriate tuition fees, and used as data for analysis to prepare for becoming an autonomous university in the future.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4015
Appears in Collections:วิจัย (Research - FD)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20230719-R2R-Nontar S.pdfAnalysis of Production Costs for Graduates of the 4-Year Bachelor’s Degree Programs, Rajamangala University of Technology Thanyaburi1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.