Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4109
Title: การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรขึ้นรูปแบบสุญญากาศ
Other Titles: Setup time reduction for vacuum thermoforming machine
Authors: ศรายุธ ผลจันทร์
Keywords: การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักร
เครื่องจักรขึ้นรูปแบบสุญญากาศ
เทคนิคการปรับตั้งเครื่องจักรอย่างรวดเร็ว (SMED)
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาการปรับตั้งเครื่องจักรขึ้นรูปแบบสุญญากาศ โดยให้ใช้เวลาการปรับตั้งเครื่องจักรแต่ละครั้งไม่เกิน 4500 วินาที ตามที่บริษัทกำหนดไว้และเพื่อปรับปรุงขั้นตอนการทำงานปรับตั้งเครื่องจักรผลิตกล่องบรรจุแปรงขัดฟันให้พนักงานสามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งเพื่อลดความสูญเปล่าจากการรอคอยของพนักงานขณะช่วงเวลามีการปรับตั้งเครื่องจักรขึ้นรูปแบบสุญญากาศ จากการศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงงานกรณีศึกษาพบว่าปัญหาการปรับตั้งเครื่องจักรผลิตกล่องบรรจุแปรงขัดฟันใช้เวลาเกินค่าเป้าหมายของบริษัทที่กำหนด ดังนั้นจึงเริ่มดำเนินงานวิจัยด้วยการศึกษาขั้นตอนการปรับตั้งเครื่องจักรทุกขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลเวลา และ ลักษณะการทำงานแต่ละกิจกรรมด้วยแผนภูมิกระบวนการไหล นำข้อมูลที่ได้มาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาด้วยแผนภูมิพาเรโต จากนั้นใช้เทคนิคการวิเคราะห์ ทำไม - ทำไม เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงและระบุแนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ยิ่งไปกว่านั้นการบูรณาการระหว่างหลักการปรับตั้งเครื่องจักรอย่างรวดเร็วกับหลักการลดเวลาสูญเปล่าด้วยเทคนิค ECRS ถูกนามาประยุกต์ใช้เพื่อลดความสูญเปล่าในขั้นตอนการปรับตั้งเครื่องจักร ผลจากการปรับปรุงโดยการประยุกต์ใช้หลักการเทคนิคการปรับตั้งเครื่องจักรอย่างรวดเร็ว และ ECRS ช่วยให้ลดเวลาการรอคอยการปรับตั้งเครื่อง ลดเวลาการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น และ ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้พนักงานโดยลดขั้นตอนการทำงานลงเหลือขั้นตอนการทำงาน 18 ขั้นตอน จากขั้นตอนการทำงานทั้งหมด 29 ขั้นตอน ลดลง 11 ขั้นตอน ส่งผลให้สามารถลดเวลาการปรับตั้งเครื่องจักรใน 1 ครั้ง จากเดิมใช้เวลา 4852.25 วินาที เหลือ 3895.59 วินาที คิดเป็นร้อยละของเวลาที่ลดลง 19.72 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุนี้ทำให้ใช้เวลาหยุดเครื่องเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตน้อยลงทำให้มีเวลาการผลิตเพิ่มขึ้นซึ่งตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
The objective of this research was to reduce the time needed to set up a vacuum thermoforming machine by allowing the time of each setup process is not more than 4500 seconds as specified by the company. This research also aimed to improve the work process and, adjust the machine to produce dental brush packages for employees to work more conveniently, and to reduce the waste of waiting for employees while setting up the vacuum thermoforming machine. From a case study looking at the problems of a factory, it was found that the problem of the dental brush package took over the target value of the company. Therefore, the research was conducted by studying every step of the machine adjustment process. The collecting time and the work conditions for each activity were studied with process flow charts. Then, this information was used to prioritize the problem with the Pareto chart. Then, the Why-Why Analysis technique was employed to analyze the root cause and identify the basic solution. Moreover, the integration between the rapid machining principle and the ECRS method of wasted time reduction was applied to reduce wastes in the machine setup process. The SMED and ECRS principles were utilized to reduce the time to set up the vacuum thermoforming machine, to reduce unnecessary movement time, and to improve work procedures for employees by reducing the work process to 18 working steps from a total of 29 steps. The reduction by 11 steps, resulted in a reduction in the time of setting up the machine in 1 time from 4852.25 seconds to 3895.59 seconds, a percentage reduction of 19.72 percent. This resulted in less stopping time to adjust the production model, and resulted in the increase of production times that met the objectives.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4109
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-170448.pdf5.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.