Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4183
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ธนวัฒน์ สุวรรณเหลา | - |
dc.date.accessioned | 2023-07-25T08:22:43Z | - |
dc.date.available | 2023-07-25T08:22:43Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4183 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 317 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน และ ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็น PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ได้แก่ (1) ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ผู้บริหารสถานศึกษานำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในการสื่อสารของหน่วยงานราชการในการติดต่อประสานงานระหว่างบุคคลและหน่วยงาน (2) ทักษะด้านการจัดการเรียนรู้และการสอนมีการส่งเสริมให้มีการจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับครูผู้สอนอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง (3) ทักษะด้านความคิดรวบยอดและความคิดสร้างสรรค์ ผู้บริหารสถานศึกษาให้ขวัญและกำลังใจ เมื่อความคิดนั้นบรรลุเป้าหมาย การแสดงความยอมรับโดยการมอบรางวัล การให้โอกาสได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (4) ทักษะด้านความรู้ความเข้าใจ มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุน และถือเป็นข้อปฏิบัติร่วมกัน ที่ครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ (5) ทักษะด้านเทคนิคทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล มีการประกวดนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนภายในและภายนอก เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ครูใด้ใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ | en |
dc.description.abstract | This research aimed to study: 1) the current conditions and desired conditions of the administrative skills of school administrators in the digital age in Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2, and 2) the guidelines to develop administrative skills of school administrators in the digital age in Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2. The research samples included 317 school teachers working in the academic year 2020 under the Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2. The proportional stratified random sampling was applied. Key informants consisted of 6 school administrators. The instruments for data collection were a questionnaire and an interview form. The data were analyzed by using percentage, frequency, mean, standard deviation, Modified Priority Needs Index (PNIModified) and content analysis. Research findings revealed that: 1) the overall current conditions of the administrative skills of school administrators in the digital age in Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2 was at a moderate level while the desired conditions of the administrative skills of school administrators was at a high level, and 2) the development guidelines for the administrators in the digital age in Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2 included (1) interpersonal skills: administrators used social media to communicate with government agencies in liaison among individuals and departments, (2) learning and teaching management skills: training was encouraged to strengthen the skills necessary for applying technology as teaching media for teachers intensively and continuously, (3) conceptual and creative skills: school administrators provided support to and encouraged teachers by recognizing the idea that achieved its goal with an award and decision-making opportunities, (4) cognitive skills: policy was set up to promote and support teachers and was considered a common practice that teachers in each subject group used ICT as a tool to organize learning activities, and (5) technological and digital skills: there were both internal and external contests for teaching innovation to encourage teachers to use technology in various fields. | en |
dc.language.iso | Thai | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | en |
dc.subject | ทักษะการบริหาร | en |
dc.subject | ผู้บริหารสถานศึกษา | en |
dc.subject | ยุคดิจิทัล | en |
dc.subject | Administration skills | en |
dc.subject | Administrators | en |
dc.subject | Digital age | en |
dc.title | ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 | en |
dc.title.alternative | Skills of school administrators in the digital age Phathum Thani primary educational service area office 2 | en |
dc.type | Thesis | en |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-175291.pdf | ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 | 9.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.