Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4234
Title: การกำจัดสีในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยกระบวนการโฟโตคะตะลิติก ร่วมกับตัวเร่งปฏิกิริยาไทเทเนียมไดออกไซด์นาโนทิวบ์
Other Titles: Color removal from synthetic wastewater by photocatalytic process with tio2-nanotubes photocatalyst
Authors: กาญจนา ลอยทะเล
Keywords: แอโนไดเซชัน
โฟโตออกซิเดชัน
นาโนไทเทเนียมไดออกไซด์
Anodization
Photo-oxidation
Nano-TiO[subscript2]
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดสีในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยกระบวนการโฟโตคะตะลิติก ร่วมกับตัวเร่งปฏิกิริยาไทเทเนียมไดออกไซด์ ซึ่งลักษณะสมบัติของน้ำเสียสังเคราะห์ดังกล่าว มีองค์ประกอบที่ยากต่อการย่อยสลายด้วยกระบวนการทางชีวภาพ โดยการศึกษาจะทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดสี ในน้ำเสียสังเคราะห์ ด้วยกระบวนการโฟโตคะตะลิติก ร่วมกับตัวเร่งปฏิกิริยาไทเทเนียมไดออกไซด์แบบท่อ ซึ่งเตรียมขั้นโดยกระบวนการแอโนไดเซชัน ที่ค่าความต่างศักย์แตกต่างกัน 4 ค่า โดยใช้สี 2 ชนิด ได้แก่ IC และ RB5 รวมถึงศึกษาลักษณะทางกายภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมขึ้นด้วยอุปกรณ์ FE-SEM และ XRF ซึ่งระบุองค์ประกอบของธาตุในตัวเร่งปฏิกิริยาและ แสดงให้เห็นพื้นที่ผิว เป็นหลุมในลักษณะท่อ (Nanotubes) สำหรับการศึกษา พบว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมขึ้นมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการโฟโตคะตะลิติก สำหรับประสิทธิภาพการกำจัดสี IC และ RB5 ด้วยกระบวนการโฟโตคะตะลิติก ร่วมกับตัวเร่งปฏิกิริยาข้างต้น และกับแหล่งกำเนิดแสง UVA ที่มีความเข้มแสง 1,580 μW/cm[superscript2] พบว่า กระบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงสุดในการบำบัดสี เมื่อความเข้มข้นเริ่มต้นต่ำสุดของสี IC เท่ากับ 0.8 μM , RB5 เท่ากับ 2.0 μM โดยมีประสิทธิภาพสูงสุดในการบำบัดสีของ IC และ RB5 เท่ากับ 76.19% และ 65.59 % ตามลำดับ สำหรับการศึกษาจลนพลศาสตร์ของกระบวนการ ดังกล่าว สามารถอธิบายได้โดย สมการปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง โดยมีค่าคงที่ของการเกิดปฏิกิริยาของสี IC และ RB5 มีค่าเท่ากับ 0.0176 min[superscript-1] และ 0.013 min[superscript-1]ตามลำดับ
This research aimed to study the performance of color removal from synthetic wastewater by photocatalytic process with TiO[subscript2-]nanotubes. The characteristics of synthetic wastewater comprised of non-biodegradable. The study compared the color removal efficiencies titanium dioxide nanotubes photocatalyst that prepared by the anodizing process with four different electric potentials with and using two types of colors, i.e. IC and RB5.The physical characteristics of the prepared photocatalysts were investigated by XRF and FE-SEM that identified the elements of the catalysts and revealed nanotube characteristic of the surface. The results indicate that the crystalline structure of TiO[subscript2+] For the photocatalytic activity test the color removal efficiency of IC and RB5 by this process with TiO[subscript2-] nanotubes photocatalyst under UVA light source of 1,580 μW/ cm[superscript2] revealed that the highest efficiency percentages were 76.19% and 65.59%, respectively for IC and RB5 with the initial concentrations of IC and RB5 of 0.8 μM and RB5 2.0 μM, respectively. The kinetics of the color removal from synthetic wastewater by photocatalytic process with TiO2-nanotubes photocatalyst under UVA light source were described by the 1st-order equation kinetics model. The specific rates of the color removal for IC and RB5 were 0.0176 min[superscript-1] and 0.013 min[superscript-1], respectively.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4234
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-175380.pdfการกำจัดสีในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยกระบวนการโฟโตคะตะลิติก ร่วมกับตัวเร่งปฏิกิริยาไทเทเนียมไดออกไซด์นาโนทิวบ์4.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.