Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/555
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุภวรรณ ศรีวรรณู
dc.date.accessioned2012-06-08T09:05:01Z
dc.date.accessioned2020-09-24T06:40:01Z-
dc.date.available2012-06-08T09:05:01Z
dc.date.available2020-09-24T06:40:01Z-
dc.date.issued2553
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/555-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดข้อบกพร่องและปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการผลิตเบาะนั่งหน้ารถยนต์โดยประยุกต์ใช้เทคนิคซิกซ์ ซิกม่าและดำเนินการตามหลักการของ DMAIC ทำการปรับปรุง 2กระบวนการคือ กระบวนการผลิตที่พิงศีรษะ (Headrest) และกระบวนการผนึกชิ้นงานด้วยกาวพ่นกาว (Bonding) ขั้นตอนการกำหนดปัญหา (D) พบว่าที่กระบวนการผลิตที่พิงศีรษะจำนวนข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือปัญหาเกิดโพรงอากาศที่พิงศีรษะ ส่วนที่กระบวนการ Bonding พบลักษณะของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นมากคือปัญหาของการ Bonding ไม่ติด นำปัญหาหลักของทั้งสองกระบวนการมาหาสาเหตุของปัญหา (M) ด้วยการระดมสมองและสร้างผังก้างปลาพบว่าสาเหตุหลักของปัญหาการเกิดโพรงอากาศที่พิงศีรษะพบมากที่ขั้นตอนการฉีด ส่วนปัญหาของการ Bonding ไม่ติดนั้นมีสาเหตุหลักมาจากแรงกดของอุปกรณ์จับยึด ชิ้นงานไม่เหมาะสม ไม่มีการควบคุมปริมาณและวิธีการในการพ่นกาว จากนั้นนำสาเหตุหลักของทั้งสองปัญหามาทำการวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไข (A)ได้นำเทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบเนื่องจากความผิดพลาด (FMEA)ร่วมกับการออกแบบการทดลอง(DOE) พบว่าปัจจัยที่ส่งต่อปัญหาการเกิดโพรงอากาศคือชนิดของหลอดฉีด ส่วนที่กระบวนการBonding จะนำหลักการวิเคราะห์การไหลของงานพร้อมการออกแบบวิธีการทำงานใหม่มาแก้ไขปัญหาการพ่นกาวไม่ติด ในการแก้ไขปัญหา (I) ที่กระบวนการผลิตที่พิงศีรษะได้ทาการเปลี่ยนชนิดของหลอดฉีดจากการไหลทางเดียวมาเป็นการไหลออกสองทางแบบเฉียง ส่วนที่กระบวนการ Bonding ได้ทำการแก้ไขเป็น 2 แนวทางคือ (1) ปรับปรุงเครื่องพ่นกาวให้สามารถพ่นกาวอัตโนมัติสามารถควบคุม ปริมาณกาว เวลาที่ใช้ในการพ่นและทิศทางในการพ่นกาวได้ (2) ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเนื่องจากได้ปรับปรุงอุปกรณ์กดชิ้นงานโดยเพิ่มตำแหน่งกดชิ้นงาน จากการปรับเปลี่ยนการทำงานของทั้งสองกระบวนการโดยได้กำหนดเป็นมาตรฐานการทำงานใหม่ (C) และติดตามผล 3 เดือนพบว่าปริมาณของเสียที่เกิดจากชิ้นงานเป็นโพรงอากาศลดลงได้ 99.45% และที่กระบวนการ Bonding สามารถลดพนักงานลงได้ 1 คน และยังสามารถลดเวลาในการทำงานของพนักงานลง 24.41 วินาที/ชิ้น ส่งผลให้สามารถเพิ่มค่าผลิตผลภาพรวมของบริษัท(Yield) ให้สูงขึ้นจากเดิม 98.94% เป็น 99.87% และสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ 22,800 บาท/เดือนen_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.subjectซิกซ์ ซิกม่าen_US
dc.subjectรถยนต์ -- เบาะen_US
dc.subjectกระบวนการผลิตen_US
dc.subjectการผลิตเบาะนั่งหน้ารถยนต์en_US
dc.subjectมาตรฐานการทำงานen_US
dc.titleการปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการผลิตเบาะรถยนต์โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคซิกซ์ ซิกม่าen_US
dc.title.alternativeQuality improvement in automotive seat production by applying six sigma techniqueen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1Front.pdfการปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการผลิตเบาะรถยนต์โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคซิกซ์ ซิกม่า1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.