Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/569
Title: | ความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศไทยในประเทศจีน |
Other Titles: | Thailand's export competitiveness of industrial goods in people's republic of china |
Authors: | ติชิลา วิจิตร |
Keywords: | สินค้าอุตสาหกรรม -- การส่งออก |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. วิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศไทยในประเทศจีน ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2542 - 2552 โดยศึกษาสินค้าอุตสาหกรรม 6 หมวด ได้แก่ หมวดสินค้าเคมีภัณฑ์อินทรีย์ หมวดสินค้าพลาสติกและผลิตภัณฑ์หมวดสินค้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง หมวดสินค้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หมวดสินค้าเครื่องจักรกล และหมวดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยมีวัตถุประสงค์ศึกษาคือ 1.เพื่อศึกษาส่วนแบ่งตลาดสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศไทยและประเทศคู่แข่งขันในกลุ่มประเทศอาเซียนในประเทศจีนจำแนกตามรายการสินค้า 2.เพื่อวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศไทยและกลุ่มประเทศคู่แข่งขันในกลุ่มประเทศอาเซียนในประเทศจีนจำแนกตามรายการสินค้า ด้วยดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (Revealed Comparative Advantage Index: RCA Index) 3.เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่กำหนดความสามารถในการแข่งขันสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศไทยในประเทศจีนจำแนกตามรายการสินค้าด้วยแบบจำลองส่วนแบ่งตลาดคงที่ (Constant Market Shares: CMS) ผลการศึกษาลักษณะการค้าทั่วไปของประเทศจีน พบว่าการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยไปประเทศจีนมีปัญหาด้านกฎหมาย การขนส่ง มาตรการการกีดกันด้านภาษี สำหรับผลการวิเคราะห์ความสามารแข่งขันการส่งออกด้วยดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Revealed Comparative Advantage Index: RCA Index) และปัจจัยที่กำหนดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกด้วยแบบจำลองส่วนแบ่งตลาดคงที่ (Constant Market Shares: CMS) พบว่าสินค้าที่มีดัชนี RCAเหนือประเทศคู่แข่งขันส่วนใหญ่คือ สินค้าในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า และอันดับรองลงมาคือสินค้าในหมวดยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง และมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าของประเทศจีนที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากผลการขยายตัวของตลาดจีน ส่วนผลกระทบร่วมหรือผลการขยายตัวของทิศทางของตลาดส่วนใหญ่คือสินค้าในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า และอันดับรองลงมาคือสินค้าในหมวดยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง เช่นกัน ในส่วนข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ที่ภาครัฐและเอกชน ควรจะเจรจาลดขั้นตอนเกี่ยวกับกฎระเบียบการส่งออกของจีน เจรจาลดปัญหาการกีดกันทางการค้า และพัฒนาระบบขนส่งสินค้าเพื่อที่จะสามารถสร้างโอกาส มูลค่า และลดต้นทุนการผลิตให้กับการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยไปยังประเทศจีน สำหรับกลุ่มสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงการนำเข้าเพิ่มขึ้นรัฐบาลควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมผู้ผลิต เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดของสินค้าประเทศไทยในประเทศจีน |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/569 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
front.pdf | ความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศไทยในประเทศจีน | 561.06 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.