Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/573
Title: ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการเขตปลอดอากรกิ่งแก้ว แอลซีแอล ฟรีโซน
Other Titles: Customer satisfaction with service quality of king kaew lcl free zone
Authors: วัลย์ลภา กองพริ้ว
Keywords: กิ่งแก้ว แอลซีแอล ฟรีโซน -- ภาษี
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี .คณะบริหารธุรกิจ. สาขาวิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปด้านประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถามและข้อมูลการใช้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจคุณภาพการให้บริการเขตปลอดอากรกิ่งแก้ว แอลซีแอล ฟรีโซน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 210 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Independent t-test ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม และใช้สถิติ One Way Analysis of Variance (One Way ANOVA) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม กรณีพบความแตกต่างจะตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ0.05 โดยใช้วิธี Least Significant Difference (LSD) ผลจากการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ 36-40 ปี ศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 20,001-40,000 บาท มีตำแหน่งงานเป็นผู้บริหารระดับกลาง (Manager) เป็นทั้งผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ลักษณะธุรกิจเป็นธุรกิจค้าส่ง/ธุรกิจค้าปลีก (ซื้อมา-ขายไป) ประเภทสินค้าเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Product) วัตถุประสงค์ในการใช้บริการบริษัทด้านสินค้าพาณิชย์ (Commercial Cargo) คือ เพื่อขนส่งสินค้าถ่ายลำผ่านแดน ปริมาณตู้ สินค้าเฉลี่ยต่อเดือนในการใช้บริการ คือ มากกว่า 30 แต่ไม่เกิน 50 Shipments ช่วงเดือนที่มีการใช้บริการมากที่สุด คือ เดือน ก.ค.-ก.ย. ช่วงเดือนที่มีการใช้บริการน้อยที่สุด คือ เดือน เม.ย.-มิ.ย. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีผลต่อการใช้บริการและเหตุผลในการตัดสินใจเลือกใช้บริการเขตปลอดอากรกิ่งแกว แอลซีแอล ฟรีโซน คือ ค่าบริการเหมาะสม โดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการเขตปลอดอากรกิ่งแก้ว แอลซีแอล ฟรีโซน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการด้านรูปลักษณ์ (Tangibles) มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการตอบสนองลูกค้า (Responsiveness) ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ (Reliability) และด้านการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล (Empathy) ตามลำดับ โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการด้านการรับประกันและความมั่นใจ (Assurance) น้อยที่สุด ข้อมูลทั่วไปด้านประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ อายุ และตำแหน่งงานปัจจุบันมีผลต่อความพึงพอใจคุณภาพการให้บริการเขตปลอดอากรกิ่งแก้ว แอลซีแอล ฟรีโซนแตกต่างกัน ทางด้านรูปลักษณ์(Tangibles) และด้านการรับประกันและความมั่นใจ (Assurance) ข้อมูลการใช้บริการ ได้แก่ประเภทกิจการ ลักษณะธุรกิจ ประเภทสินค้า และเหตุผลในการตัดสินใจเลือกใช้บริการเขตปลอดอากร มีผลต่อความพึงพอใจคุณภาพการให้บริการแตกต่างกัน ทางด้านรูปลักษณ์ (Tangibles) ด้านความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ (Reliability) ด้านการรับประกันและความมั่นใจ (Assurance) ด้านการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล (Empathy)
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/573
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
front.pdfความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการเขตปลอดอากรกิ่งแก้ว แอลซีแอล ฟรีโซน694.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.