Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/603
Title: การศึกษาอัตราส่วนผสมของเชื้อเพลิงจากกากไขมันและกากของกากไขมันกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
Other Titles: The study of mixtured ratio of fuel from fat dregs, residue of fat dregs and agricultural waste
Authors: สำรวม โกศลานันท์
Keywords: กากไขมัน -- การใช้ประโยชน์
เชื้อเพลิง -- กากไขมัน
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
Abstract: กากไขมันจากบ่อบำบัดน้ำเสีย และกากของกากไขมันซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากการสกัดเอาไขมันและน้ำมันออกจากกากไขมันเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เป็นของเสียที่ต้องนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อมิให้ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการกำจัด งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาความเป็นไปได้ของการนำของเสียทั้ง 2 ชนิด ไปใช้ประโยชน์โดยการนำไปผสมกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ในโรงงงานอุตสาหกรรม ซึ่งได้นำไปศึกษาในแง่ของพลังงานความร้อนที่ได้จากการเผาของผสม เมื่อทำการแปรผันปริมาณกากไขมัน และกากของกากไขมัน ตั้งแต่ 25% ถึง 75% ผสมกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ได้แก่ แกลบ ขี้เลื่อย เหง้ามันสำปะหลัง และซังข้าวโพด ซึ่งทำการบดละเอียดก่อนนำไปผสม ผลการศึกษาพบว่ากากไขมันให้พลังงานความร้อน 13.706 ± 0.442 kJ/g ซึ่งต่ำกว่าขี้เลื่อยและซังข้าวโพด ซึ่งให้พลังงานความร้อนสูงกว่าวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอื่นๆ คือ 13.929 ± 0.096 kJ/g และ 14.041 ± 0.289 kJ/g ตามลำดับ แต่แกลบเป็นวัสดุให้พลังงานความร้อนต่ำสุด คือ 11.533 ± 0.728 kJ/g ส่วนกากของกากไขมันให้พลังงานความร้อนต่ำสุด เมื่อเทียบกับวัสดุทดสอบทั้งหมด คือ 11.311 ± 0.696 kJ/g ค่าความร้อนของของผสมระหว่างกากไขมันกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรแปรผันตรงกับปริมาณกากไขมัน ส่วนค่าความร้อนของของผสมระหว่างกากของกากไขมันกับวัสดุขี้เลื่อยและซังข้าวโพดแปรผกผันกับปริมาณกากของกากไขมัน ของผสมที่มีปริมาณกากไขมันและกากของกากไขมันตั้งแต่ 50% ขึ้นไปเริ่มมีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลวไม่รวมตัวเป็นก้อน ผลการทดลองจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าของผสมระหว่างซังข้าวโพดกับกากไขมัน มีความเหมาะสมที่สุดที่จะนำไปศึกษาและพัฒนาผลิตเป็นเชื้อเพลิงต่อไป
Fat dregs from wastewater sumps and the residue of fat dregs, which is left after the extraction of lipids from fat dregs are required to be treated properly to prevent environmental pollution and appropriate treatment costs money. This research aimed to investigate the potential of the utilization of the above wastes as fuels for combustion in factories by mixing them with agricultural wastes. This work studied the heat of combustion of the mixtures when the quantities of fat dregs and residue of fat dregs were varied between 25-75%. Grinded agricultural wastes used in this study were rich husks, sawdust, cassava rhizomes, and corn cobs. It was found that the heat of combustion of fat dregs was 13.706 ± 0.442 kJ/g which was lower than saw dust and corncobs. Saw dust and corncobs had the heat of combustion of 13.929 ± 0.096 kJ/g and 14.041 ± 0.289 kJ/g, respectively, which were higher than those of other agricultural wastes while that of rice husks was the lowest i.e. 11.533 ± 0.728 kJ/g. The heat of combustions were of the mixtures of fat dregs correlated with the quantity of fat dregs. Meanwhile, the heat of combustions of the mixtures of the residue of fat dregs and sawdust, and corncobs were correlated reversely with the quantity of the residue of fat dregs. The mixtures containing 50% of fat dregs or residue of fat dregs and above were semi-solid therefore further processes might be needed for convenient utilization as combustible fuel. The results of this work showed that the mixture of corn cobs and fat dregs was most suitable for further studies and development of combustible fuel.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/603
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The study of mixtured ratio of fuel from fat dregs....pdfการศึกษาอัตราส่วนผสมของเชื้อเพลิงจากกากไขมันและกากของกากไขมันกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.